กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8097
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการเกิดเลือดออกซ้ำในผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Fctors relted to preventive behviors for rebleeding in upper gstrointestinl bleeding ptients |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เขมารดี มาสิงบุญ วัลภา คุณทรงเกียรติ อรพรรณ บุญลือ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ภาวะเลือดออก มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำเป็นปัญหาสำคัญในปัจจุบันที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมป้องกันการเกิดเลือกออกซ้ำ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการเกิดเลือดออกซ้ำในผู้ป่วยที่มีเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นครั้งแรกที่มาตรวจตามแพทย์นัด ณ แผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรม โรงพยาบาลพระปกเกล้า จำนวน 84 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอนถามข้อมูลทั่วไปแบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันการเกิดเลือดออกซ้ำ แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ แบบสอบถามการรับรู้ โอกาสเสี่ยงของการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ และแบบสอบถามการรับรู้ ผลลัพธ์ในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ และแบบสอบถามการรับรู้ผลลัพธ์ในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ โดยมีค่าความเที่ยง เท่ากับ .82, .78, .71, .87 และ .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมป้องกันการเกิดเลือดออกซ้ำ โดยรวมอยู่ในระดับสูง (M = 46.83, SD = 7.36) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการเกิดเลือดออกซ้ำในผู้ป่วยที่มีเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระดับสูง ได้แก่ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ (rs = .81, p < .01) และการรับรู้ผลลัพธ์ในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ (rs =.72, p < .01) ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ (rs = .32, p < .01) และการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ (rs = .31, p < .01) ผลการวิจัยครั้งนี้พยาบาลสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลด้านการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น นำโดยส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ การรับรู้ผลลัพธ์ในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำการรับรู้ความรุนแรงของการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ และการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8097 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.68 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น