กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8095
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ยุนี พงศ์จตุรวิทย์ | |
dc.contributor.advisor | นุจรี ไชยมงคล | |
dc.contributor.author | กิตติมา ทรงวัฒนา | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T06:54:28Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T06:54:28Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8095 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | การพ่นยาฝอยละอองเป็นหัตการที่พบได้บ่อยในเด็กวัยก่อนเรียน การช่วยลดความกลัวจึงเป็นสิ่งสำคัญ การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลภายหลังการทดลองครั้งเดียว เพื่อศึกษาผลของการใช้หุ่นนิ้วมือหรรษาประกอบการเล่านิทานต่อความกลัวการพ่นยาฝอยละอองในเด็กวัยก่อนเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กวัยก่อนเรียนอายุ 3-6 ปีที่เข้ารับการรักษาครั้งแรกใน โรงพยาบาลด้วยโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี จํานวน 30 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบสะดวกแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 รายเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม พ.ศ. 2561 กลุ่มทดลองได้รับการใช้หุ่นนิ้วมือหรรษาประกอบการเล่านิทาน และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย หุ่นนิ้วมือหรรษา หนังสือนิทาน แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสังเกตพฤติกรรมความกลัวของเด็กป่วยวัยก่อนเรียนที่ได้รับการพ่นยาแบบฝอยละออง มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมความกลัวภายหลังสิ้นสุดการทดลองในกลุ่มทดลอง (M = 14.33, SD = 1.84) น้อยกว่ากลุ่มควบคุม (M = 23.67, SD = 5.42) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (t = 6.32, p< .001) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การใช้หุ่นนิ้วมือหรรษาประกอบการเล่านิทานในเด็กป่วย วัยก่อนเรียนที่ได้รับการพ่นยาแบบฝอยละอองนี้มีประสิทธิภาพพยาบาลสามารถนําไปใช้เพื่อช่วยลดความกลัวของเด็กทำให้สามารถพ่นยาแบบฝอยละอองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ | |
dc.subject | เด็ก -- การพยาบาล | |
dc.subject | เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) | |
dc.subject | ยา -- การใช้รักษา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก | |
dc.title | ผลของการใช้หุ่นนิ้วมือหรรษาประกอบการเล่านิทานต่อความกลัวการพ่นยาฝอยละอองในเด็กวัยก่อนเรียน | |
dc.title.alternative | Effect of funny finger puppets with storytelling on fer of erosol therpy in preschool children | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The aerosol therapy is a common procedure in preschool children, reducing fear is important. The quasi-experimental research, two-group posttest-only design aimed to examine effect of funny finger puppets with storytelling on fear of aerosol therapy in preschool children. The sample included 30 preschool children with3 to 6 years of age with treated for the first time in a hospital with respiratory tract infection admitted in Pediatric Unit,Prapokklao Hospital, Chanthaburi province. Samples were convenience samplingassigned to either the experimental and control groups which were 15 equally. Data were collected between June to August 2018. The experimental group received of funny finger puppets with storytelling, whereas the control group received usual nursing care. Researchinstruments consisted of the funny finger puppets, storytelling, questionnaire and the observational question of fear behavior of aerosol therapy in preschool children. Their Cronbach, s alpha was .87. Data were analyzed by descriptive statistics Independence t-test. The results reveals that mean score of perceived funny finger puppets with storytelling in experiment group (M = 14.33, SD = 1.84) was significantly lesser than those in the control group (M = 23.67, SD = 5.42) (t = 6.32, p< .001) Findings identify that the funny finger puppets with storytelling in preschool children who received aerosol therapy is effective. Nurses can apply to reduce the child, s fear in order to use aerosol therapy effectively. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การพยาบาลเด็ก | |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.28 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น