กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8093
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาที่ผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉิน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Predictors of postprtum depression mong women with emergency cesren section
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณี เดียวอิศเรศ
อุษา เชื้อหอม
กุสุมล แสนบุญมา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: การคลอด -- การดูแล
การผ่าท้องทำคลอด
ความซึมเศร้า
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นการเปลี่ยนแปลงที่วิกฤติทางอารมณ์ของมารดาหลังคลอด มีผลกระทบทั้งต่อมารดาหลังคลอด ทารกและครอบครัว การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาที่ผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่าง เป็นมารดาในระยะ 4-8 สัปดาห์หลังคลอด ที่คลอดโดยการผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉิน และมารับบริการ ตรวจสุขภาพหลังคลอดบุตรหรือพาบุตรมารับบริการที่หน่วยเด็กสุขภาพดีที่โรงพยาบาลระยอง โรงพยาบาลบางละมุง หรือคลินิกเอกชน/ โรงพยาบาลเอกชน จำนวน 98 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบสะดวก เก็บข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2651 โดยใช้แบบสอบถามที่ให้กลุ่มตัวอย่างตอบเองได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบประเมินภาวะซึมเศร้าหลังคลอด แบบสอบถามความเครียดจากการดูแลบุตร แบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณแบบมาตรฐาน ผลการวิจัยพบมารดาที่ผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉินมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด คิดเป็นร้อยละ 20.20 อายุของมารดา รายได้ของครอบครัว ระยะเวลาของบุตรที่ต้องรับการรักษาที่หออภิบาลทารกแรกเกิด ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองความเครียดจากการดูแลบุตรและการสนับสนุนทางสังคมร่วมกันทำนายภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาที่ผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉินได้ร้อยละ 56 (Adjust R2 = .53, F6, 91= 19.307, p< .05) โดยความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองมีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมากที่สุด (β = -.59, p< .05) รองลงมาคือความเครียดจากการดูแลบุตร (β = .20, p< .05) และระยะเวลาที่บุตรต้องเข้ารับการรักษาที่หออภิบาลทารกแรกเกิด (β = .17, p < .05) ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลผดุงครรภ์ควรมีการจัดโปรแกรมส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการจัดการความเครียดจากการดูแลบุตรหลังคลอดโดยเฉพาะในรายที่บุตรต้องรักษาตัวที่หออภิบาลทารกแรกเกิดเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดากลุ่มนี้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8093
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.27 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น