กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/794
ชื่อเรื่อง: การประเมินคุณภาพชีวิตและการประเมินการรับสัมผัสสาร Organic Solvents ของพนักงานขับรถโดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (ศึกษาเปรียบเทียบที่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ กระทรวงคมนาคม)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Evaluation of quality of life and exposure to organic solvents among bus drivers in Bangkok, Metropolis and domain (Comparative study in Bangkok mass transit authority, Ministry of Transport)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: คุณภาพชีวิต
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
Organic solvents
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยการประเมินการรับสัมผัส Organic solvents และการประเมินคุณภาพชีวิตของพนักงานขับรถโดยสาร มีจำนวนตัวอย่างทั้งหมดในการศึกษามี 151 คน แบ่งเป็นกลุ่มศึกษา 100 คน (พนักงานขับรถโดยสารธรรมดา 50 คน และ พนักงานขับรถปรับอากาศ 50 คน) และกลุ่มตัวอย่างควบคุม จำนวน 51 คน พนักงานขับรถโดยสารธรรมดา มีอายุเฉลี่ย 46.30 ปี และ 48.82 ปี สำหรับพนักงานขับรถปรับอากาศ ในขณะที่กลุ่มควบคุม มีอายุเฉลี่ย 35.67 ปี ส่วนใหญ่กลุ่มศึกษามีสภาพการทำงานในแต่ละวันในหน้าที่หลักที่เขตการเดินรถนาน 10 ชั่วโมงต่อวัน และมีการใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจทุกครั้งเพียงร้อยละ 18.0 สำหรับพนักงานขับรถโดยสารธรรมดา และร้อยละ 2.0 สำหรับพนักงานขับรถปรับอากาศ โดยที่ส่วนใหญ่มีการใช้ผ้าปิดจมูกและผลของการประเมินคุณภาพชีวิตทุกด้าน โดยรวม พบว่า พนักงานขับรถโดยสารธรรมดาและพนักงานขับรถปรับอากาศ ส่วนใหญ่มีระดับคะแนนคุณภาพชีวิตทุกด้านโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 80.0 และร้อยละ 84.0 ตามลำดับ ในการเก็บตัวอย่างอากาศใช้ Organic Vapor Monitor (3M 3500) ติดตัวบุคคลในระดับการหายใจของกลุ่มศึกษา พบว่า พนักงานขับรถโดยสารธรรมดา มีค่าเฉลี่ย +- ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ Toluene 243.86 +- 241.85 ug/m3 และ Xylene 715.25+- 459.02 ug/m3 และพนักงานขับรถปรับอากาศมีค่าเฉลี่ย +- ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ Toluene 270.66+- 240.04 ug/m3 และ Xylene 591.58+- 425.96 ug/m3 และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยปริมาณระดับความเข้มข้นของสาร Toluene และ Xylene ระหว่างกลุ่มศึกษากับกลุ่มควบคุม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 (p<0.001) และมีการเก็บตัวอย่างปัสสาวะหลังสิ้นสุดการทำงาน พบว่า พนักงานขับรถโดยสารธรรมดา และพนักงานขับรถปรับอากาศ มีค่าเฉลี่ย +- ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ Hippuric acid 276.69+- 344.17 mg/g creatinine และ 276.30 +- 323.15 mg/g creatinine ตามลำดับ สำหรับ Methylhippuric acid 11.72+- 27.00 mg/g creatinine และ 3.86+- 12.00 mg/g creatinine ตามลำดับ นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของปริมาณระดับความเข้มข้นของ Hippuric acid ระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 (p<0.001) แต่อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษานี้ทำให้ตระหนักได้ว่า พนักงานขับรถโดยสารธรรมดาและพนักงานขับรถปรับอากาศ มีการสัมผัสสาร Organic solvents ในขณะปฏิบัติงานและควรมีการจัดอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจถึงอันตรายและวิธีการป้องกันรวมถึงการแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/794
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น