กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7864
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorนุจรี ไชยมงคล
dc.contributor.advisorยุนี พงศ์จตุรวิทย์
dc.contributor.authorเบญจวรรณ ปิ่นทอง
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T06:12:56Z
dc.date.available2023-05-12T06:12:56Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7864
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractเด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับการเลี้ยงดูจากบิดามารดาในครอบครัวเป็นส่วนสําคัญต่อการมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ และการคิดเชิงบริหารมีการพัฒนาเป็นอย่างมากในวัยก่อนเรียน การวิจัยแบบบรรยายเชิงหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านครอบครัว ได้แก่ ลักษณะครอบครัวรายได้ของครอบครัว ลักษณะสภาพแวดล้อมที่บ้าน ความเครียดในการเป็นมารดาและระดับการศึกษาของมารดากับพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กวัยก่อนเรียน กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เป็นมารดาและเด็กวัยก่อนเรียน จํานวน 198 คน ที่เข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามทั้งหมด 4 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามสภาพแวดล้อมที่บ้าน แบบสอบถามความเครียดในการเป็นมารดา และแบบสอบถามพัฒนาการ ด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กวัยก่อนเรียน มีความเชื่อมั่นเท่ากับ .70, .95และ .96 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กวัยก่อนเรียนโดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 87.24 (SD = 20.01) ความเครียดในการเป็นมารดามีความสัมพันธ์ทางลบในระดับตํ่ากับพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กวัยก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ( r = -.147, p < .05) ส่วนลักษณะครอบครัว รายได้ของครอบครัวลักษณะสภาพแวดล้อมที่บ้าน และระดับการศึกษาของมารดาไม่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กวัยก่อนเรียน (p> .05) ผลการวิจัยครั้งนี้ให้ข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและผู้มีหน้าที่ดูแลสุขภาพเด็ก ควรให้ความสําคัญกับพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กวัยก่อนเรียน การจัดกิจกรรมเพื่อลดความเครียดในการเป็นมารดาของเด็กวัยก่อนเรียน ซึ่งสามารถส่งผลให้เด็กวัยก่อนเรียนมีพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารที่เหมาะสม
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก
dc.subjectความคิดและการคิด
dc.subjectเด็กวัยก่อนเข้าเรียน
dc.subjectHumanities and Social Sciences
dc.titleปัจจัยด้านครอบครัวที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กวัยก่อนเรียน
dc.title.alternativeFmily fctors relted to executive function development in preschool children
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativePreschool children who have been raised by their parents within the family are important to childdevelopment of various aspects, and the executive function considerably develops during by pre-school age. The purpose of this descriptive correlational research was to examine relationship between family factors, includingfamily type, family income, home environment, parentingstress and mother’s education, and executive function development in preschool children. A multi-stage random sampling was used to recruit a sample of198 mothers and preschool receiving service in child development centers in the municipality of Chon Buri province. Data were collected during January to February, 2018. Research instrument included the demographic questionnaire, the home environment for measurement of the environment scale, the parenting stress index, and the executive function development in preschool children’s scale. Their cronbach’s alpha reliability were .70, .95, and .96 respectively. Data were analyzed by using descriptive statistics and Pearson’s product moment correlationcoefficient’s. The results revealedthat the mean score of executive function in preschool children was 87.24 (SD = 20.01). Parenting stress was negatively correlation to executive function in preschool children (r =-.147, p < .05). Family type, family income, home environment and education level of mother were not significantly correlated(p> .05). These findings suggest that nurses and related personnel shouldprioritize executive function and develop activities to decrease parenting stress. Consequently, preschool children would have appropriate executive function.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการพยาบาลเด็ก
dc.degree.nameพย.ม.
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.05 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น