กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7859
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์
dc.contributor.advisorจิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส
dc.contributor.authorธันยพร บัวเหลือง
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T06:12:55Z
dc.date.available2023-05-12T06:12:55Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7859
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractบุคคลที่มีพฤติกรรมการดื่มสุราแบบเสี่ยงหากได้รับการเสริมสร้างแรงจูงใจจะช่วยเพิ่มความตั้ งใจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทําให้ลดการดื่มสุราและอาจเลิกดื่มได้ในที่สุด การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจต่อความตั้งใจในการหยุดดื่มและพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ดื่มชายแบบเสี่ยง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดื่มชายแบบเสี่ยงอาศัยอยู่ในตําบลบ่อ อําเภอขลุง จังหวัดจันทบุรีที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์จํานวน 29 คน สุ่มอย่างง่ายเพื่อคัดเข้ากลุ่มทดลอง 14 คน และกลุ่มควบคุม 15 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจจํานวน 8 ครั้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละเวลา 60-90 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบประเมินความตั้งใจในการหยุดดื่มสุรา และแบบประเมินพฤติกรรมการดื่มสุรา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .91 และ .81 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาการทดสอบที และการวิเคราะห์การแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการได้รับโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจ กลุ่มตัวอย่างในกลุ่มทดลองมีความตั้ งใจในการหยุดดื่มสุราสูงกว่า และมีพฤติกรรมการดื่มสุราน้อยกว่าในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .001) และในกลุ่มทดลองระยะ 1 เดือน ที่ติดตามผล พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความตั้ งใจในการหยุดดื่มสุราสูงกว่า และมีพฤติกรรมการดื่มสุราน้อยกว่า ในระยะทันทีที่สิ้นสุดการให้โปรแกรม (p < .05) ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นวาโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจนี้มีประสิทธิภาพพยาบาล และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพบุคคลสามารถนําโปรแกรมนี้ไปใช้กับผู้ดื่มชายแบบเสี่ยงเพื่อส่งผลต่อการเพิ่มความตั้ งใจในการหยุดดื่มสุราลดพฤติกรรมการดื่มสุราและนําไปสู่การเลิกดื่มสุราได้ในที่สุด
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectHumanities and Social Sciences
dc.subjectการดื่มสุรา
dc.subjectการเลิกสุรา
dc.subjectสุรา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
dc.titleผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจต่อความตั้งใจในการหยุดดื่มและพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ดื่มชายแบบเสี่ยง
dc.title.alternativeThe effects of motivtionl enhncement progrm on intention to stop drinking nd drinking behvior mong mles with risky drinking
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeIndividuals with risky drinking behaviors whose their motivation are enhanced would have higher intention to change their behavior of reducing drinking alcoholic beverage, and may finally be able to stop drinking. The purposes of this quasi-experimental study were to test the effects of motivational enhancement program on intention to stop drinking and drinking behavior among males with risky drinking. Participants consisted of 29 males with risky drinking residing in Bor sub-district, Khlung District of Chanthaburi Province. Random assignment was employed to select 14 participants to the experimental group and 15 males to the control group. Participants in the experimental group-received the motivational enhancement program for 8 sessions, 2 sessions per week for 4-week period. Each session took about 60-90 minutes. For the control group, participants received usual care from the health promotion hospital. Research instruments included a demographic questionnaire, the intention to stop drinking questionnaire, and the drinking behavior questionnaire. Their reliability were .91 and .81, respectively. Data were analyzed by using descriptive statistics, independent t-test, and two-way repeated measure ANOVA. The results revealed that after completion of the motivational enhancement program, participants in the experimental group had higher intention to stop drinking and less drinking behavior than those in the control group (p<.001). Moreover, within the experimental group at 1 month follow-up, the participants had higher intention to stop drinking and less drinking behavior than at immediately finished the intervention (p<.05). These findings indicate that the motivational enhancementprogram is effective. Nurses and relevant health carepersonnel could obtain this program to apply with risky drinking males to increase intention to stop drinking and decrease drinking behavior. Consequently, they could stop drinking
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.5 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น