กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7856
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ยุวดี ลีลัคนาวีระ | |
dc.contributor.advisor | วรรณรัตน์ ลาวัง | |
dc.contributor.author | กัลยารัตน์ รอดแก้ว | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T06:12:54Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T06:12:54Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7856 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | การป้องกันโรคย่อมดีกว่าการรักษา ซึ่งการมีพฤติกรรมที่เหมาะสม จะทำให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานสามารถป้องกันโรคเบาหวานได้การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการกำกับตนเองร่วมกับคู่หูดูแลกันต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวาน น้ำหนักและระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่มีน้ำหนักเกิน กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่มีน้ำหนักเกินในตำบลโพรงอากาศ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา สุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มตามหมู่บ้านจากพื้นที่ที่แบ่งออกเป็นสองส่วน แล้วสุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้าเป็น กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบด้วยการจับฉลากพื้นที่ได้กลุ่มทดลอง จำนวน 28 คน และกลุ่มเปรียบเทียบจํานวน 28 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมกิจกรรมการกำกับตนเองร่วมกับคู่หูดูแลกันเป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบให้ได้รับการดูแลตามปกติประเมินผลก่อน และหลังได้รับกิจกรรมโดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวาน ชั่งน้ำหนักตรวจหาค่าระดับน้ำตาลในเลือด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ไคว-สแควร์และค่าทีอิสระ ผลการวิจัยพบว่า หลังการเข้าร่วมกิจกรรมการกำกับตนเองร่วมกับคู่หูดูแลกัน กลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ≤ .05 และมีค่าเฉลี่ยน้ำหนักลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ≤ ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงว่า การกำกับตนเองร่วมกับคู่หูดูแลกัน มีประสิทธิผลในการป้องกันโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยง ดังนั้น พยาบาลและบุคลากรทางด้านสุขภาพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ควรนำการกำกับตนเองร่วมกับคู่หูดูแลกันไปใช้ในการดูแล กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่มีน้ำหนักเกิน | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | น้ำตาลในเลือด -- การป้องกันและควบคุม | |
dc.subject | เบาหวาน -- การดูแล | |
dc.subject | เบาหวาน -- การป้องกันและควบคุม | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน | |
dc.title | ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองร่วมกับคู่หูดูแลกันต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวาน น้ำหนักและระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่มีน้ำหนักเกิน | |
dc.title.alternative | The effects of self-regultion with buddy cre progrm on dibetes preventive behviors, body weight, nd blood sugr level mong overweight pre-dibetes. | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | Prevention is better than cure. Appropriate behaviors among diabetes groups who are at risk can prevent them from developing Type2 diabetes mellitus. This quasi-experiment research aimed to evaluate self-regulation with a Buddy Care Program on diabetes prevention behaviors, body weight, and blood sugar levels among over weight pre-diabetics. Overweight pre-diabetics were selected from the health promotion hospital (HPHs) in Prong-akat sub-district, Bangnampriao district, Chachoengsao province. Cluster sampling was applied, to create two groups determined by which villages the samples lived in. Then, these two groups were randomly assigned into experimental group (n= 28) and comparative group (n= 28). The experimental group participated in the 12 weeks of the Self -regulation with Buddy Care Program, whereas the comparative group received usual care services from the HPH. The diabetes prevention behaviors, body weight, and blood sugar level were evaluated before and after the intervention. Data was analyzed by using descriptive statistic, Chi-square, and Independence t-test. The results showed that experimental group achieved statically higher diabetes preventive behaviors (p< .05) and lower body weight than the comparative group (p< .05). The results confirmed that the Self-regulation with Buddy Care Program was an effective program to prevent new Type 2 diabetes mellitus in pre-diabetes. Therefore, nurses and health care providers who work in HPHs can apply this program to persons with overweight pre-diabetes conditions | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน | |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.01 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น