กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7853
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พรชัย จูลเมตต์ | |
dc.contributor.advisor | นัยนา พิพัฒน์วณิชชา | |
dc.contributor.author | อิงอร ลิ้มวัฒนาถาวรกุล | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T06:12:54Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T06:12:54Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7853 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | โรคมะเร็งเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรักษาตลอดชีวิต เพื่อชะลอการดำเนินของโรค และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะเจ็บป่วย ผู้สูงอายุต้องเผชิญและปรับตัวให้สามารถดูแลตนเองได้เหมาะสมกับโรค และมีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงต้องใช้ความยืดหยุ่นในการเผชิญกับการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของความยืดหยุ่นและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยืดหยุ่นของผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ได้ยาเคมีบำบัด ซึ่งปัจจัยที่ศึกษา ได้แก่ ความหวัง การเผชิญความเครียด ความเข้มแข็งในการมองโลก และการสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด และมารับบริการ ณ ตึกผู้ป่วยในสามัญหญิงและชาย โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี จังหวัดชลบุรี จำนวน 97 ราย กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถาม ความหวัง แบบสอบถามการเผชิญความเครียด แบบสอบถามความเข้มแข็งในการมองโลก แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามความยืดหยุ่น โดยได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .93, .84, .82, .87 และ .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดส่วนใหญ่ มีระดับความยืดหยุ่น อยู่ในระดับสูง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 84.70 (SD = 6.79) ความหวังการเผชิญความเครียด ความเข้มแข็งในการมองโลก และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความยืดหยุ่นของผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์ (r= .56, p< .01; r= .58, p< .01; r= .54, p< .01; r= .40 ตามลำดับ) ผลการศึกษาครั้งนี้เสนอแนะว่า พยาบาลและบุคคลากรทางสุขภาพควรมีการพัฒนาโปรแกรมหรือกิจกรรมส่งเสริมความยืดหยุ่นในผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด โดยนำปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้ คือ การเผชิญความเครียด ความหวัง ความเข้มแข็งในการมองโลกและการสนับสนุนทางสังคม เป็นแนวทางในการส่งเสริมความยืดหยุ่นของผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มะเร็ง -- ผู้ป่วย -- การดูแล | |
dc.subject | มะเร็ง | |
dc.subject | ผู้สูงอายุ -- การดูแล | |
dc.subject | Health Sciences | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ | |
dc.title | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยืดหยุ่นของผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด | |
dc.title.alternative | Fctors relted to resilience mong elderly cncer ptients receiving chemotherpy | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | Cancer disease is a chronic illness that requires long-term treatment to slow its progression and stop complications. Elderly patients with cancer need to deal with and adapt for self-care management to meet their quality of life. Therefore, resilience is needed to apply in dealing with cancer. The purposes of this research were to study the level of resilience of the elderly cancer patients receiving chemotherapy and its related factors including hope, coping, sense of coherence and social support. Ninety seven elderly cancer patients receiving chemotherapy at the general male and female wards of Chonburi Cancer Hospital, Chon Buri province were selected by using simple random sampling. Instruments used in this study consisted of the demographic data questionnaire, hope questionnaire, coping questionnaire, the sense of coherence questionnaires, social support questionnaire, and resilience questionnaire. Their reliability coefficients were .93, .84, .82, .87 and .86 respectively. Descriptive statistics and Spearman’s rank correlation coefficients were computed for data analysis. The results indicated that the majority of elderly cancer patients receiving chemotherapy had high levels of resilience (M = 84.70 SD = 6.79). Hope, coping, sense of coherence and social support had moderately and positively significant correlation with resilience of elderly cancer patients receiving chemotherapy with significant level of .01 (r= .56; r= .58; r= .54; and r= .40, respectively). Findings suggested that nurses and health care providers should develop programs or interventions for promoting resilience among elderly cancer patients receiving chemotherapy by applying hope, coping, sense of coherence and social support into those interventions to promote resilience of elderly cancer patients receiving chemotherapy. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การพยาบาลผู้สูงอายุ | |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 4.08 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น