กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7852
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorวรรณทนา ศุภสีมานนท์
dc.contributor.advisorตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี
dc.contributor.authorสาวิตรี จันทร์กระจ่าง
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T06:12:54Z
dc.date.available2023-05-12T06:12:54Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7852
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการแสวงหาข้อมูลด้านสุขภาพทางอินเตอร์เน็ตเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสามารถในการดูแลตนเอง และการมีภาวะสุขภาพที่ดีของหญิงตั้งครรภ์ในปัจจุบัน การวิจัยเชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลด้านสุขภาพทางอินเตอร์เน็ตของหญิงตั้งครรภ์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง จำนวน 120 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลพื้นฐาน แบบสอบถาม ความต้องการข้อมูลด้านสุขภาพ แบบสอบถามอุปสรรคในการแสวงหาข้อมูลด้านสุขภาพและแบบสอบถามพฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลด้านสุขภาพทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของ แบบสอบถามเท่ากับ 0.90, 0.86, และ 0.79 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติถดถอยพหุแบบเชิงชั้น ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการอยู่ในระดับสูง (M =73.51, SD = 14.39) ในขณะที่อุปสรรคในการแสวงหาข้อมูลด้านสุขภาพทางอินเตอร์เน็ตในระดับปานกลาง (M =38.38, SD = 12.81) และมีพฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลด้านสุขภาพในระดับต่ำ (M =41.34, SD = 8.34) โดยความต้องการและอุปสรรคในการแสวงหาข้อมูลด้านสุขภาพ สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลด้านสุขภาพได้ร้อยละ 48.2 (R 2 = .482, F(2,117) =54.42, p < .001) และเมื่อเพิ่มปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ อายุครรภ์ ลำดับที่ของการตั้งครรภ์ และภาวะสุขภาพ สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลด้านสุขภาพได้ร้อยละ 52.8 (R 2 = .528, F(6,113) = 21.10, p < .001) จากผลการวิจัย พยาบาลและบุคลากรในทีมสุขภาพควรตระหนักถึงความต้องการข้อมูลด้านสุขภาพ และมีการประเมินอุปสรรคในการแสวงหาข้อมูลด้านสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ เพื่อจัดทำข้อมูลที่ตอบสนองความต้องการและจัดการแก้ไขอุปสรรคที่มีผลต่อการแสวงหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตของหญิงตั้งครรภ์
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
dc.subjectการสำรวจสุขภาพ
dc.subjectสูติศาสตร์
dc.subjectครรภ์
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลด้านสุขภาพทางอินเตอร์เน็ตของหญิงตั้งครรภ์ ณ โรงพยาบาลเอกชน
dc.title.alternativeFctorsinfluencing helth informtion seeking behvior vi internet mong pregnnt women t privte hospitl
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeHealth information seeking behavior via internet is an important factor influencing self care ability and the health of pregnant women. This study aimed to explore factors predicting health information seeking behaviors via the internet among pregnant women. Samples were 120 pregnant women who received antenatal care at a private hospital. Data were collected by self report questionnaires including Personal Information Questionnaire, Pregnancy Health Information Need Scale, Pregnancy Health Information Barriers Scale, and Pregnancy Health Information Seeking Behavior Scale. Reliabilities of questionnaires were .90, .86, and .79 respectively. Descriptive statistics and hierarchical multiple regression were used to analyze data. The result found that pregnant women reported their health information needs at a high level (M = 73.51, SD = 14.39), while health information barriers was rated at a moderate level (M = 38.38, SD = 12.81) and health information seeking behavior was at a low level (M = 41.34, SD = 8.34).Pregnancy health information needs and barriers could predicted pregnancy health information seeking behaviors accounting for 48.2 of variance (R 2 = .482, F(2,117) = 54.42, p < .001) After adding age, gestational age, gravidity, and health condition in the model, all variables could predicted 52.8 of variance in pregnancy health information seeking behaviors (R 2 = .528, F (6,113) = 21.10, p< .001). Findings suggested that nurses and other health care providers should focus on health information needs and assess health information barriers of pregnant women to create the database that respond to the information needs of pregnant women and manage the barriers of health seeking information via the internet.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการผดุงครรภ์
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.61 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น