กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7850
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorพรชัย จูลเมตต์
dc.contributor.advisorนัยนา พิพัฒน์วณิชชา
dc.contributor.authorสุบงกช ศรีวันทา
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T06:12:53Z
dc.date.available2023-05-12T06:12:53Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7850
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายต้องการการรักษาตลอดชีวิตเพื่อชะลอการดำเนินของโรค และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ผู้สูงอายที่เป็นโรคนี้ต้องเผชิญและปรับตัวให้สามารถดูแลตนเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงต้องใช้ความยืดหยุ่นในการเผชิญกับการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความยืดหยุ่นและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยืดหยุ่นของผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย จำนวน 97 ราย ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่ายจากผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่มารับการตรวจรักษาที่คลินิกโรคไตเรื้อรัง และหน่วยไตเทียม โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สระแก้ว เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความหวัง แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน แบบสอบถามการมองโลกในแง่ดี แบบสอบถาม สัมพันธภาพในครอบครัว และแบบสอบถามความยืดหยุ่น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายมีความยืดหยุ่นอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ย 68.30 (SD = 8.04) โดยปัจจัยความหวัง สัมพันธภาพในครอบครัว การรับรู้ สมรรถนะแห่งตน และการมองโลกในแง่ดี มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความยืดหยุ่นของผู้สูงอายุ โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= .536, p< .01; r= .449, p= .01; r= .349, p< .01; r= .289, p< .01 ตามลำดับ) ผลการศึกษาครั้งนี้เสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพควรส่งเสริมความยืดหยุ่นสำหรับผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย โดยการสร้างเสริมความหวัง สัมพันธภาพในครอบครัวการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการมองโลกในแง่ดีเพื่อให้ผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectไต -- ผู้ป่วย -- การดูแล
dc.subjectไต -- โรค -- ผู้ป่วย
dc.subjectไต
dc.subjectHealth Sciences
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยืดหยุ่นของผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย
dc.title.alternativeFctors relted to resilience mong elderly with end stge renl disese
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeEnd stage renal disease requires long-term treatment to slow its progression and prevent complications. Elderly with end stage renal disease has to deal with and adapt for self-care management to meet their quality of life. Resilience is needed to apply in dealing with the illness. The purposes of this research were to study resilience among the elderly with end stage renal disease and its related factors. The sample consisted of 97 elderly with end stage renal disease who attended chronic kidney clinic and hemodialysis unit at Sakaeo Crown Prince Hospital. The instruments used in this study included demographic record form, Herth Hope Index Questionnaire, Self-Efficacy Questionnaire, Optimism Questionnaire, Family Relationship Questionnaire and Resilience Scale. Descriptive statistic and Pearson’s product moment correlation were used to analyze data. The results of the study showed that the elderly with end stage renal disease had moderate level of resilience (M = 68.30, SD = 8.04). There were positively significant correlations between hope, self-efficacy, optimism, family relationship with resilience among elderly with end stage renal disease (r= .536, p< .01; r= .449, p= .01; r= .349, p< .01; r= .289, p< .01 respectively). Findings suggested that nurse and health care providers should develop appropriate interventions aiming at promoting resilience among elderly with end stage renal disease through the enhancement of hope, self-efficacy, optimism, and family relationship in order to help them meet quality of life.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการพยาบาลผู้สูงอายุ
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น