กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7784
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorวรรณี เดียวอิศเรศ
dc.contributor.advisorตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี
dc.contributor.authorสุพัตรา หน่ายสังขาร
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T04:24:49Z
dc.date.available2023-05-12T04:24:49Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7784
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractถึงแม้ยาฝังคุมกำเนิดเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ สำหรับหญิงวัยรุ่น แต่พบว่าอัตราการใช้ยังต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการใช้ยาฝังคุมกำเนิดต่อความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาฝังคุมกำเนิด ระดับความพร้อมต่อการใช้ยาฝังคุมกำเนิด และการใช้ยาฝังคุมกำเนิดในมารดาวัยรุ่นหลังคลอด กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรกอายุ 10-19 ปี รับบริการฝากครรภ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 52 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์แบบเฉพาะเจาะจง แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มควบคุม 26 ราย กลุ่มทดลอง 26 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติกลุ่มทดลองได้รับทั้งการพยาบาลตามปกติและโปรแกรม ส่งเสริมการใช้ยาฝังคุมกำเนิด จำนวน 2 ครั้งคือในระยะตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 และระยะหลังคลอด เก็บรวมรวมข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 รวบรวมข้อมูล โดยการใช้แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาฝังคุมกำเนิด แบบประเมินความพร้อมต่อการใช้ยาฝังคุมกำเนิด และแบบบันทึกการใช้ยาฝังคุมกำเนิดหลังคลอด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ พรรณนา การทดสอบไคสแควร์ และการทดสอบทีแบบอิสระ ผลการวิจัยพบว่า มารดาวัยรุ่นในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับยาฝังคุมกำเนิด (t= -6.26, p< .05) สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการวิจัยครั้งนี้เสนอแนะว่า ควรมีการส่งเสริมการใช้ยาฝังคุมกำเนิดในมารดาวัยรุ่น ตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์จนกระทั่งหลังคลอดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ช้าที่ไม่พึงประสงค์ในช่วงวัยรุ่น
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการคุมกำเนิดสำหรับวัยรุ่น
dc.subjectคุมกำเนิด
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์
dc.titleผลของโปรแกรมส่งเสริมการใช้ยาฝังคุมกำเนิดต่อความรู้ระดับความพร้อมและการใช้ยาฝังคุมกำเนิดในมารดาวัยรุ่นหลังคลอด
dc.title.alternativeEffects of promoting contrceptive implnt use progrm on knowledge, rediness level, nd immedite postprtum contrceptive implnt use mong teenge mothers
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeAlthough, using contraceptive implant effectively prevent female adolescents from getting pregnant, using rate remains lower that the setting goal. This quasi-experimental research aimed to investigate effects of promoting contraceptive implant use program on contraceptive implant knowledge, readiness level for using contraceptive implant, and immediate postpartum contraceptive implant use among teenage mothers. A purposive sample of 52 teenage primigravida mothers aged 10 to 19 years who met study inclusion criteria and received antenatal care service at Chaophraya Yommarat hospital, Suphanburi province was recruited in the study. Twenty six mothers were assigned in either control or experimental group. Participants in control group received routine care, those in experimental group received both routine care and 2-time program of promoting contraceptive implant use (during trimester 3 of pregnancy and at immediate postpartum). Data were collected from February to May 2018 by contraceptive implant use knowledge questionnaire, readiness to use contraceptive implant assessment form, and immediate postpartum contraceptive implant use record form. Data were analyzed by descriptive statistics, chi-square test, and independent t-test. Results revealed that experimental group had highr mean score of contraceptive implant use knowledge (t= -6.26, p< .001), had higher mean score of readiness level to use contraceptive implant (t= -6.00, p< .001), and had higher immediate postpartum contraceptive implant use proportion (X 2 = 3.82, p< .05) than control group significanlty. Findings suggest that teenage mothers would be encouraged to use contraceptive implant during pregnancy and at immediate postpartum in order to prevent repeated and unwanted pregnancy during their adolescent age.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการผดุงครรภ์
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.57 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น