กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7783
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorวรรณี เดียวอิศเรศ
dc.contributor.advisorวรรณทนา ศุภสีมานนท์
dc.contributor.authorเขมจิรา ท้าวน้อย
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T04:24:49Z
dc.date.available2023-05-12T04:24:49Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7783
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการสูญเสียทารกจากการตั้งครรภ์และการคลอดในครรภ์ก่อนก่อให้เกิดความวิตกกังวลในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลของหญิงตั้งครรภ์ที่เคยสูญเสียบุตรจากการตั้งครรภ์และการคลอด กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มีประวัติการสูญเสียบุตรจากการตั้งครรภ์และการคลอดที่มารับการบริการฝากครรภ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 และโรงพยาบาลอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 111ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวกจากหญิงตั้งครรภ์ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์เก็บรวมรวมข้อมูลในเดือนมกราคมถึงเดือน มีนาคม พ.ศ. 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบสอบถามประวัติ ทางสูติกรรม แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคมแบบพหุมิติและแบบวัดความวิตกกังวล ขณะเผชิญวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติสหสัมพันธ์แบบพอยท์ไบซีเรียล ผลการวิจัย พบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่เคยสูญเสียบุตรจากการตั้งครรภ์หรือการคลอดครั้งก่อน ส่วนใหญ่มีความวิตกกังวลในระดับปานกลาง (ร้อยละ 49.5) และพบว่า การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับความวติกกังวลขณะเผชิญอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= -.22, p = .02) ส่วนอายุครรภ์ของการสูญเสียบุตรในครรภ์ที่ผ่านมา (r= -.10, p = .31) ระยะห่างระหว่างการตั้งครรภ์ครั้งที่แล้ว (r= -.06, p = .50) อายุครรภ์ปัจจุบัน (r= -.07, p = .44) และการมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ (rpb= .04, p= .71) ไม่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวล ขณะเผชิญของหญิงตั้งครรภ์ ผลการศึกษาครั้งนี้เสนอแนะให้พยาบาลในหน่วยให้บริการฝากครรภ์มีการประเมินความวิตกกังวลในหญิงตั้งครรภ์ที่เคยสูญเสียบุตรและให้การพยาบาลโดยส่งเสริมให้ครอบครัว เพื่อน และบุคคลรอบข้างของหญิงตั้งครรภ์ให้การสนับสนุนทางสังคมแก่หญิงตั้งครรภ์เพื่อลดระดับความวิตกกังวลขณะตั้งครรภ์ในครรภ์ปัจจุบัน
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectความวิตกกังวล
dc.subjectครรภ์
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลในหญิงตั้งครรภ์ที่เคยสูญเสียบุตร
dc.title.alternativeFctors relted to nxiety in subsequent pregnncy mong pregnnt women with history of pregnncy loss
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativePrevious pregnancy loss may cause anxiety of women in a subsequent pregnancy. The purpose of this correlational research was to examine factors related to the anxiety of pregnant women with a history of pregnancy loss. Pregnant women (n=111) with a history of pregnancy loss attending antenatal care clinics at Chaophrayayommarat Hospital, Somdejphrasangkharach XVII Hospital and Uthong Hospital and met the study criteria were randomly selected to participate in the study. Data were collected during January to March, 2018 by using questionnaires including demographic and obstetric history questionnaire, the Multidimensional Scale of Perceived Social Support (MSPSS-Thai version) and the State-Trait Anxiety Inventory (STAI form Y-I: Thai version). Descriptive statistics, Pearson’s correlation coefficients, and point biserial correlation coefficient were used to analyze data. Results showed that 49.5 % of pregnant women with a history of pregnancy loss had moderate level of anxiety. Social support was significantly and negatively correlated with state anxiety (r= -.22, p = .02). However, gestational age of previous pregnancy loss (r= -.10, p = .31), interpregnancy interval (r= -.06, p = .50), gestational age of current pregnancy (r= -.07, p = .44), and obstetrical complication (rpb= .04, p= .71) were not significantly related to state anxiety during current pregnancy. Findings of the study suggest that nurses in antenatal care unit should assess anxiety in pregnant women who had a history of pregnancy loss and provide them nursing care by enhancing social support from family, friends, and other networks for pregnant women in order to decrease anxiety during current pregnancy
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการผดุงครรภ์
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.43 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น