กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7778
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสุพิศ ศิริอรุณรัตน์
dc.contributor.advisorตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี
dc.contributor.authorชนัดดา ระดาฤทธิ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T04:24:48Z
dc.date.available2023-05-12T04:24:48Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7778
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการจัดการตนเองเป็นแนวคิดสำคัญที่ช่วยให้สตรีที่มีภาวะเบาหวานจากการตั้งครรภ์ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง การวิจัยนี้เป็นแบบบรรยายเชิงทำนาย เพื่อศึกษา ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการตนเองของสตรีที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวาน จำนวน 176 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามการจัดการตนเอง ได้ค่าดัชนีความตรงของแบบสอบถาม การรับรู้สมรรถนะแห่งตน แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามการจัดการตนเอง เท่ากับ 1.0 และค่าความเชื่อมั่นของสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคเท่ากับ .88, .96 และ .78 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้สมรรถนะแห่งตน การสนับสนุนทางสังคม และการจัดการตนเองในระดับสูง (M = 73.86, SD = 14.90; M = 51.64, SD = 7.17; M = 85.90, SD = 10.19 ตามลำดับ) การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนทางสังคมมีอิทธิพลและ สามารถร่วมกันทำนายการจัดการตนเองของสตรีที่มีภาวะเบาหวานจากการตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 66.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R 2 = .667, F(2,173)= 173.00, p< .001) โดยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการตนเองของสตรีที่มีภาวะเบาหวานจากการตั้งครรภ์มากที่สุด (ß= .63, t= 11.65, p< .001) ผลการศึกษานี้ให้ข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรสุขภาพควรส่งเสริมการรับรู้ สมรรถนะแห่งตนและสนับสนุนครอบครัวให้มีส่วนร่วมในการดูแลสตรีที่มีภาวะเบาหวานจากการตั้งครรภ์เพื่อให้สามารถการจัดการตนเองได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectเบาหวานในสตรีมีครรภ์
dc.subjectครรภ์
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการตนเองของสตรีที่มีภาวะเบาหวานจากการตั้งครรภ์
dc.title.alternativeFctors influencing self mngement mong women with gesttionl dibetes mellitus
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeSelf-management is an important concept that helps women with gestational diabetes to modify their health behaviors. This predictive study aimed to examine the factors influencing self-management of women with gestational diabetes. The participants consisted of 176 pregnant women with diabetes. Data were collected by questionnaires including personal data questionnaire, self-efficacy questionnaire, social support questionnaire and self-management questionnaire. Content validity indices (CVI) of three questionnaires were 1.0 Cronbach’s alpha coefficients’of self-efficacy questionnaire, social support questionnaire and self- management questionnaire were .88, .96, and .78, respectively. Data were analyzed by descriptive statistics and stepwise multiple regression. The results showed that the self-efficacy, social support, and self-management were rated at high levels (M = 73.86, SD = 14.90; M = 51.64, SD = 7.17; M = 85.90, SD = 10.19 respectively). Self-efficacy and social support were significantly predictors and accounted for 66.7% in self-management of women with gestational diabetes (R 2 = .667, F(2,173)= 173.00, p< .001). The self-efficacy was the best influencing factor of self-management of women with gestational diabetes (ß= .63, t= 11.65, p< .001). The results of the study suggest that nurses and other health care providers should enhance perceived self-efficacy and family support of pregnant women with gestational diabetes in order to improve their self-management. Consequently, their blood sugar levels would be controlled or better.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการผดุงครรภ์
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.7 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น