กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7777
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการคลอดในหญิงตั้งครรภ์แรก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors relted to perceived childbirth self-efficcy in primiprous pregnnt women
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณี เดียวอิศเรศ
สุพิศ ศิริอรุณรัตน์
สุรวดี คัทสิงห์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: ครรภ์
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์ขั้นสูง
การคลอด
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: สมรรถนะแห่งตนในการคลอดของหญิตั้งครรภ์ครั้งแรกมีความสําคัญต่อการมีประสบการณ์การคลอด การวิจัยแบบบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการคลอดในหญิงตั้งครรภ์แรก ได้แก่ อายุ รายได้ของครอบครัว ความรู้ ทัศนคติ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการคลอด กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยวิธีสุ่มอย่างง่ายจํานวน 120 รายคือ หญิงตั้งครรภ์แรกที่มารับบริการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการคลอด แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับการคลอด และแบบสอบถามความเชื่อมั่นในตนเองขณะคลอด วิเคราะห์ข้อมูล โดยโดยใช้สถิติพรรณนาและสัมประสิทธ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า การศึกษารายได้ของครอบครัว ความรู้เกี่ยวกับการคลอด และทัศนคติเกี่ยวกับการคลอดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการคลอดอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (r =.22, p< .05, r = .23,p < .05, r= .23, < .01, และ r= .26,p< .05 ตามลําดับ) ส่วนอายุไม่มีความสัมพันธ์กบการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการคลอด (p>.05) ผลวิจัยนี้ให้ข้อเสนอแนะว่า พยาบาลในแผนกฝากครรภ์ควรจัดทําโปรแกรมการพยาบาล เช่น การจัดเตรียมตัวเพื่อการคลอดเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการคลอดและเสริมสร้างทัศนคติที่ดีให้กับหญิงตั้งครรภ์แรกเพื่อส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์เหล่านี้มีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการคลอดในทางบวก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7777
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น