กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7766
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสมสมัย รัตนกรีฑากุล
dc.contributor.advisorวรรณรัตน์ ลาวัง
dc.contributor.authorเสาวภา เล็กวงษ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T04:24:45Z
dc.date.available2023-05-12T04:24:45Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7766
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractสุขภาวะทางปัญญาเป็นมิติสำคัญทางสุขภาพที่เชื่อมยยงและส่งผลต่อสุขภาพด้านอื่นของญาติผู้ดูแลการวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาวะทางปัญญาของญาติผู้ดูแลคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกายกลุ่มตัวอย่างเป็นญาติผู้ดูแลคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกายที่อาศัยอยู่ในจังหวัดจันทบุรี จำนวน 180 ราย ที่ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มหลายขั้นตอนเก็บรวบรวมระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560 โดยใช้แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา สัมพันะภาพระหว่างผู้ดูแลและคนพิการ การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ภาระการดูแล และสุขภาวะทางปัญญา มีค่าสัมประสิทธ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .88, .94, .83, .82 และ .91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ญาติผู้ดูแลกลุ่มตัวอย่าง มีสุขภาวะทางปัญญาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีสุขภาวะทางปัญญา 3 อันดับแรกมากที่สุด คือ ด้านการตั้งเป้าหมาย ( X = 4.17, SD = 2.29) ด้านความสุขสงบ ( X = 4.10, SD = 3.29) และด้านสติ สมาธิ และปัญญา ( X = 4.00, SD = 5.89) ตามลำดับ ทั้งนี้ปัจจัยสัมพันธภาพระหว่างผู้ดุแลและคนพิการ (B = 0.292) การสนับสนุนทางสังคม (B = 0.169) การรับรู้ภาระการดูแล (B = -0.175) การปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา (B = 0.136) โดยสามารถร่วมกันทำนายสุขภาวะทางปัญญาของญาติผู้ดูแลคนพิการทางการไหวหรือทางร่างกายได้ร้อยละ 25.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R 2 adj = 0.258, F = 4.03, p< .05) ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องควรมีการจัดโปรแกรมเพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางปัญญาโดยเน้นการส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างผู้ดูแลและคนพิการ ส่งเสริมให้ครอบครัวเพื่อน และบุคคลสำคัญมีส่วนร่วมช่วยเหลือญาติผู้ดูแล ลดภาระการดูแล และสนับสนุนการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาของญาติผู้ดูแล ซึ่งจะทำให้ญาติผู้ดูแล มีสุขภาวะทางปัญญานำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดี
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน
dc.subjectผู้ป่วย -- การดูแล
dc.subjectสุขภาวะ
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาวะทางปัญญาของญาติผู้ดูแลคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย
dc.title.alternativeFctors ffecting the spiritul well-being mong fmily cregivers of persons with physicl disbility
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeSpiritual well-being is an important health domain that links and affects to the other health domains among family caregivers of persons with physical disability. This predictive correlational research aimed to determine factors affecting the spiritual well-being among family caregivers of persons with physical disability. A multi-stage cluster random sampling was used to recruit 180 participants of family caregivers of persons with physical disability in Chanthaburi province. Research instruments were interviews including religious activities, caregiver and care recipient relationships, social support, caregiving burden, and spiritual well-being. Their reliabilities were .88, .94, .83, .82, and .91 respectively. Descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis were used to analyze the data. The results revealed that the spirituall well-being among family caregivers was rated at a high level. The most three domains were goal setting ( X = 4.17, SD = 2.29) peace of mind ( X = 4.10, SD =3.29) and mindfulness, meditation, and intelligence ( X = 4.00, SD = 5.89) respectively. The caregiver and care-recipient relationship (B = .292) social support (B = .169) perceived caregiving burden (B = -.175) and religious activities (B = .136) could together explain 25.8 % (R 2 adj= 25.8, F = 4.03, p< .05)of the variance accounted for in the spiritual well-being among family caregivers of persons with physical disability. These findings suggest that nurse and other health personnel should develop the program to promote the spiritual well-being through promotingcaregiver and care recipient relationships, encouraging family members, friends, or significant persons to provide support, reducing caregiving burdens, and promoting religious activities for family caregivers. Consequently, family caregiver’s spiritual well-being would be enhanced and resulted in quality of life.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.97 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น