กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7750
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorจิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส
dc.contributor.advisorชนัดดา แนบเกษร
dc.contributor.authorยุพาธร เสือเฒ่า
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T04:24:41Z
dc.date.available2023-05-12T04:24:41Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7750
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่นําไปสู่โรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายการดูแลที่สําคัญ คือ การเสริมสร้างความมีคุณค่าในตนเองและลดภาวะซึมเศร้าการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมศิลปะบําบัดแบบกลุ่มต่อภาวะซึมเศร้า และความมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในชุมชนที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จํานวน 24 คน สุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมศิลปะบําบัดแบบกลุ่ม จํานวน 8 ครั้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ๆ ละ 90-120 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลปกติ โปรแกรมศิลปะบําบัดแบบกลุ่มพัฒนาโดยใช้กรอบแนวคิด BOVORNKITI Art Therapy Model (เลิศศิริร์ บวรกิตติ, 2559) และแนวคิดความรู้สึก มีคุณค่าในตนเองของ Rosenberg (1965) วัดก่อนการทดลอง หลังการทดลองเสร็จสิ้ น และติดตามผล 1 เดือนด้วยแบบวัดภาวะซึมเศร้า และแบบวัดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองวิเคราะห์ ข้อมูลโดยสถิติพรรณนาและการทดสอบค่าที (Independent t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซํ้า และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของบอนเฟอโรนี ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าและความมีคุณค่าในตนเองในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และระยะติดตามผล 1 เดือน แตกต่างกับกลุ่มควบคุมอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001 กลุ่มทดลองมีคะแนนค่าเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าและความมีคุณค่าในตนเองในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีและติดตามผล 1 เดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมศิลปะบําบัดแบบกลุ่มสามารถลดภาวะซึมเศร้า และเสริมสร้างความมีคุณค่าในตนเองให้กับผู้สูงอายุที่ภาวะซึมเศร้าพยาบาลและบุคลากรในทีมสุขภาพอื่น ๆ ที่ปฏิบัติด้านการส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุในชุมชน สามารถนํารูปแบบศิลปะบําบัด การวาดภาพไปใช้กับผู้สูงอายุเพื่อลดภาวะซึมเศร้าและเพิ่มความมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectความซึมเศร้า -- การรักษา
dc.subjectความซึมเศร้า
dc.subjectผู้สูงอายุ
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
dc.titleผลของโปรแกรมศิลปะบำบัดแบบกลุ่มต่อภาวะซึมเศร้าและความมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า
dc.title.alternativeThe effects of group rt therpy progrm on depression nd self-esteem in older dults with depression
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeOlder adults with depression tend to be high risk group that might progress to depressive disorder and suicide. The crucial care is enhancing self-esteem and reduce depression. The purpose of this quasi-experimental study was to examine the program group art therapy on depression and self-esteem in older adults with depression. The sample included twenty-four community-dwelling older adults who met the inclusion criteria and were randomly assigned 12 into the experimental group and 12 into the control group. The experimental group received program group art therapy for 8 sessions, two sessions per week and each session held about 90 to 120 minutes, whereas in the control group received only routine nursing care. This program develops from BOVORNKITI Art Therapy Model and Rosenberg self- esteem concept. The Thai Geriatric depression scale and Rosenberg self-esteem scale was employed to evaluate pre-posttest and one month follow-up. Descriptive statistics, independent t-test, two-way repeated measure ANOVA and multiple comparison test by Bonferroni method were employed to analyze the data. The results showed significant difference of mean scores of depression and self-esteem between the experimental and control group at post-test and 1- month follow-up (p< .001). In the experimental group, the mean scores of depression and self-esteem at pre-test, post-test and 1-month follow-up were significantly different (p< .05). The finding showed that this group art therapy had significant effects on depression and self-esteem in older adults with depression. Thus, this program may recommend for nurses and related health professional to apply art therapy with drawing to promote self- esteem in depressive elderly.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.67 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น