กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/771
ชื่อเรื่อง: ความหลากหลายทางชีวภาพของโคพีพอดและไมซิด บริเวณหาดนางรอง เกาะจระเข้ และกลุ่มเกาะจวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ปี 2551-2553
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Biodiversity of Copepods and Mysids in Had Nang-Long, Jorake Islands, and Juang Islands, Amphur Sattahip, Chon Buri Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ขวัญเรือน ศรีนุ้ย
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: ความหลากหลายทางชีวภาพ
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
โคพีพอด
ไมซิด.
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: จากการสำรวจชนิดของโคพีพอดและไมซิด ในบริเวณเกาะจวง เกาะจาน เกาะจระเข้ และหาดนางรอง เป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 ถึงเดือน พฤษภาคม 2553 พบโคพีพอดทั้งสิ้น 4 Suborder ได้แก่ Calanoida, Cylopoida, Harpacticoida, และ Poecilostomatoida ประกอบด้วย 16 ครอบครัว ได้แก่ Acartidae, Calanidae, Paracalanidae, Eucalanidae, Tortanidae, Candaciidae, Clausidiidae, Miracidae, Ectinosomidae, และ Corycaeidae จำนวน 24สกุล 47ชนิด เป็นชนิดที่พบใหม่ในประเทศไทย 3 ชนิด ในอันดับ Calanoida ครอบครัว Pseudodiaotomidae เป็นชนิดที่พบใหม่ในประเทศไทย 2 ชนิด คือ Pseudodiaptomus ishigakiensis, P. Galleti และ ยังพบโคพีพอดในครอบครัวเดียวกันอีก 2 ชนิด ที่พบครั้งแรกในอ่าวไทยคือ P. andamanensis, Pseudocyclops ensiger ครอบครัวของโคพีพอดที่พบจำนวนชนิดมากที่สุดคือครอบครัว Pontellidae ที่พบทั้งสิ้น 5 สกุล 11 ชนิด ส่วนไมซิดพทั้งสิ้น 4 เผ่าพันธุ์ 11 สกุล 17 ชนิด เป็นชนิดที่พบใหม่ในประเทศไทย 3 ชนิด คือ Anisomysis aikawai และ Anisomysis ijimai, Pseudanchialina inermis ไมซิดที่พบแพร่กระจายมากที่สุดในบริเวณหมู่เกาะแสมสารคือ Anisomysis aikawai
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/771
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น