กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/764
ชื่อเรื่อง: ระดับไขมันในเลือดของทารกและแรงงานหญิงมีครรภ์ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมในเขตภาคตะวันออก
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อุษา ฮกยินดี
ศิริพร จันทร์ฉาย
ถิรพงษ์ ถิรมนัส
อรพิน ทองดี
สุนิศา แสงจันทร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: สตรีมีครรภ์ - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - โภชนาการ - - วิจัย
โครเลสเตอรอล
วันที่เผยแพร่: 2538
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงศ์ที่จะสำรวจอาหารบริโภค และความแตกต่างของปริมาณอาหารที่บริโภคกับระดับไขมันในเลือดของแรงงานหญิงมีครรภ์ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมในเขตภาคตะวันออก โดยใช้ตัวอย่างจากประชากรกลุ่มดังกล่าวที่ตั้งครรภ์ปกติ และสุขภาพแข็งแรง จำนวน 70 ราย หลังจากนั้นได้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่มีระดับไขมันในเลือดสูงกับกลุ่มที่มีระดับไขมันในเลือดปกติโดยใช้ระดับ ครอเรสเตอรอล 200 มก/ดล เป็นเกณฑ์แบ่ง สถิติใช้คือ สถิติพรรณาและ Mann-Whitney U test ที p≤0.05 ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่ากลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีระดับไขมันในเลือดปกติมีสัดส่วนได้รับสารอาหารและพลังงานที่จำเป็นต่อร่างกายสูงกว่ากลุ่มหญิงมีครรภ์ที่มีระดับไขมันในเลือดสูงโดยเปรี่ยบเทียบแต่ปริมาณที่ได้รับของกลุ่มที่มีระดับไขมันในเสือดสูงนั้นไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ค่าเฉลี่ยของระดับไขมันในเลือดที่พบ เป็นดังนี้ กลุ่มที่มีระดับไขมันในเลือดสูง(มก./ดล) กลุ่มที่มีระดับไขมันในเลืดปกติ(มก./ดล) Mean±SD Mean±SD Cholesterol 233.21±23.45 178.95±16.21 Triglyceridr(TG) 256.33±29.40 256.20±362.89 LDL-C 149.13±10.53 137.12±18.46 HDL-C 49.46±8.80 42.43±6.40 จากการสึกาาความแตกต่างของปริมาณพลังงานและสารอาหารที่ได้รับกับค่าเฉลี่ยของระดับไขมันในเลือดของกลุ่มที่มีระดับไขมันเลือดสูงกับกลุ่มที่มีระดับไขมันในเลือดปกตินั้น ไม่มีหลักฐานพอเพียงที่จะสรุปว่าระดับไขมันของทั้งสองกลุ่มนั้นต่างกัน (p-value>0.05) ยกเว้นการได้รับสารอาหารโปรตีนสัตว์ที่พบว่ากลุ่มที่มีระดับไขมันในเลือดสูงที่มีระดับไขมันในเลือดโดยเฉลี่ยต่ำกว่ากลุ่มที่มีระดับไขมันในเลือดปกติเท่ากับโดยเฉลี่ยเท่ากับ 31.1 มก./ดล.โดยความแตดต่างดังกล่าวนั้นมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.04 ,95%CI=-60.3 - 1.8) ข้อเสนอแนะคือกลุ่มที่มีระดับไขมันในเลือดสูงควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง โดยบริโภคพืช ผัก ผลไม้ให้มากขึ้น และออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน The objectives of this survey study were to investigate the dietary intake and plasma Iipid of Prgnant Industrial Workers in The East of Thailanf,and to study the different between dietary intake and plasm lipid level of them. The sample sizes were 70 pregnant workers. The inclusion criteria were normal pregnancy and healthy. The cut points of heperlipidemia were cholerterol >200 mg/dl. and/or triglyceride >150mg/dl. Three -days food records and quantification of dietary nutrient intake per person per day were assessed. The reslts that the dietary intake in hyperlipidemia group and nomalipidemic group are Hyperlipidemia group (mg./di.) Normalipidemic group (mg./dl.) Mean±SD Mean±SD Cholesterol 233.21±23.45 178.95±16.21 Triglyceride(TG) 256.33±29.40 256.20±362.89 LDL-C 149.13±10.53 137.12±18.46 HDL-c 49.46±8.80 42.43±6.40 There were no evidences to point that the mean of plasma lipid in hyperlipidemia group and in nomalipidemic group were diffents (p-value >0.05),.except the mean of dietary animal protein intake in hyperlipidemia group was 31.0 mg./dl lower than in nomalipedemic grop and signficantly different (p-value =0.04; 95%CI= -60.3 to 1.8). It is recommended that health consumption and daily exercises should should be done by hyperlipidemia pregnant industrial workers.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/764
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
viewobj1.68 MBUnknownดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น