กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/755
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorเสาวนีย์ ทองนพคุณ
dc.contributor.authorพิศมัย หอมจำปา
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:53:06Z
dc.date.available2019-03-25T08:53:06Z
dc.date.issued2553
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/755
dc.description.abstractลักษณะปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย การพัฒนารูปแบบและกลวิธีที่เหมาะสมในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาเอดส์ในกลุ่มเยาวชนในหอพัก จังหวัดชลบุรี (Developing Appropriate Model and strategies for HIV/AIDS Prevention and Alleviation of Yong Population Living in a Dormitory Setting in Chon buri Province) เกิดขึ้นเนื่องจากสภาพการณ์ปัจจุบัน วัยรุ่นและเยาวชนต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงรอบด้านทั้งทางเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรม ค่านิยม และวิถีการดำเนินชีวิต นอกจากนี้วัยรุ่นและเยาวชนเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยเฉพาะพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย ส่งผลให้ยังคงมีการติดเชื้อเอช ไอ วีในวัยรุ่นและเยาวชน ในปัจจุบันเยาวชนอายุ 10-24 ปี ในจังหวัดชลบุรีมีประมาณ 273,870 คน (คิดเป็นร้อยละ 24.5 จากประชากรกบางปี 2550) และเกือบครึ่งหนึ่งพักอาศัยในหอพักทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา ซึ่งมีมากกว่า 300 หอพักและมีที่กระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ของจังหวัดชลบุรี นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราการติดเชื้อรายใหม่ในกลุ่มเยาวชนจังหวัดชลบุรีมีสัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้น เมื่อพิจารณาจากข้อมูลย่อยในจังหวัดชลบุรี พบข้อมูลน่าสนใจว่าเยาวชนที่พักอาศัยในหอพักหรือบ้านเช่าเหล่านี้มีบริบทชีวิตและพฤติกรรมเพศสัมพันธ์ในสัดส่วนที่สูงกว่าการมีคู่นอนหลายคน การมีเพสสัมพันธ์แบบเปลี่ยนคู่นอน การใช้สารเสพติดก่อนที่จะมีเพศสัมพันธ์ ฯ นอกจากนี้ยังมีการใช้ถุงยางอนามัยอย่างสม่ำเสมอในอัตราที่ต่ำ มีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอช ไอ วี รวมทั้งการระบาดของเอดส์ในพื้นที่ เพื่อหาแนวทางในการดำเนินการเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์แบบร่วมคิดร่วมทำในกลุ่มผู้เกี่ยวช้องต่าง ๆ อาทิเช่น ผู้รับผิดชอบสถานศึกษา ผู้ประกอบการหอพักทั้งในและนอกสถานศึกษา สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชลบุรี ศูนย์อนามัยที่ 3 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี รวมทั้งเยาวชนในหอพัก ซึ่งจะสามารถทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการจัดระบบการเรียนรู้จากข้อมูลและการกำหนดรูปแบบการดำเนินงานที่ทันเหตุการณ์ รวมทั้ง สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการในสังคมอีกทั้งทำให้เกิดระบบบริการและการประเมินผลดำเนินงานเพื่อป้องกัน ดูแล และแก้ไขปัญหาเอดส์ที่รอบด้านและมีความยั้งยืนในพื้นที่ วัตถุประสงค์ขอการดำเนินการ 1. เพื่อพัฒนารูปแบบและกลวิธีที่เหมาะสมในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาเอดส์ในกลุ่มเยาชนในหอพักจังหวัดชลบุรี 2. เพื่อศึกษาการรับรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมเสี่ยง พฤติกรรมป้องกันเอดส์ของเยาวชนที่พักอาศัยในหอพักและกำลังศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี กลวิธีการดำเนินการ การศึกษาวิจัยการรับรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมเสี่ยง พฤติกรรมป้องกันเอดส์ของเยาวชนที่พักอาศัยในหอพักและกำลังศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Method) และนำมาดำเนินการพัฒนารูปแบบและกลวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในกลุ่มเยาวชนในหอพัก จังหวัดชลบุรี ผลการดำเนินการ จากผลศึกษาวิจัยการรับรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมเสี่ยง พฤติกรรมป้องกันเอดส์ของเยาวชนที่พักอาศัยในหอพักและกำลังศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 2,717 คน พบว่าเป็นเยาวชนหญิงร้อยละ (ร้อยละ 63.3) มากกว่าเยาชนชาย ผลการเรียนในปีการศึกษาที่ผ่านมาของเยาวชนอยู่ในระดับดี 2.50-2.99 ร้อยละ 27.9 เยาวชนส่วนมากได้รับค่าใช้จ่ายรายเดือนจากบิดาและมารดา หรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ร้อยละ 64.7 ซึ่งรายได้ที่เยาวชนรับต่อเดือนมากที่ตั้งแต่ 4,501-6,000 บาท ร้อยละ 22.5 การพักอาศัยพบว่าเยาวชนที่ศึกษาส่วนมากพักอาศัยอยู่หอร่วมกับเพื่อน ร้อยละ 36.0 เยาวชนส่วนมากพักอยู่อาศัยร่วมกันตั้งแต่ 1-3 คน ร้อยละ 45.1 โดยมีบางส่วนเสียค่าที่พักเดือนละ 2,001-3,000 บาท ร้อยละ 16.0 และ เดือนละ มากกว่า 4,000 บาท ร้อยละ 10.5 ด้านการรับรู้ ทัศนคติ และความตระหนัก ตลอดจนพฤติกรรมเสี่ยงและพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของเยาวชนจากจ้อสรุปได้ว่า เยาวชนในหอพักที่กำลังศึกษาสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตจังหวัดชลบุรี มีความตระหนักเกี่ยวกับเอดส์ที่เหมาะสมอยู่ในสัดส่วนที่ไม่เหมาะสม ร้อยละ 52.9 เยาวชนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอายุระหว่าง 15-19 ปี ร้อยละ 23.8 โดนมีเยาวชนที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ร้อยละ 16.1 และมีเยาวชนเพียงร้อยละ 11.6 เท่านั้นที่ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์กับคู่รัก/แฟน สำหรับแหล่งการรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ของเยาวชนกิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์ ร้อยละ 15.5 รองลงมาคือ การรณรงค์ จัดนิทรรศการ แจกแผ่นพับ ร้อยละ 11.0 การจัดอบรม เข้าค่าย ร้อยละ 6.3 ตามลำดับในขณะเดียวกันการจัดกิจกรรมป้องกันเอดส์ในหอพักที่ต้องการมากที่สุด ได้แก่ การให้ความรู้เรื่องการป้องกัน ร้อยละ 10.3 และการจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องเอดส์ ร้อยละ 5.8 การจัดกิจกรรมนันทนาการ กีฬา ร้อยละ 3.3 ตามลำดับ ในด้านการบริการสุขภาพทางเพศที่เยาวชนต้องการมากที่สุด คือ การให้คำปรึกษาเรื่องเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 5.1 รองลงมา คือ การให้ความรู้เรื่องเอดส์ และสายด่วนให้คำปรึกษา ร้อยละ 3.4 และร้อยละ 3.0 ตามลำดับ สำหรับความคิดเห็นในการติดตั้งตู้ถุงยางอนามัยหยอดเหรียญนั้น เยาวชนส่วนใหญ่เห็นควร ติดตั้งตู้หยอดเหรียญ ร้อยละ 42.7 และสถานที่ที่อยากให้ติดตั้งตู้ถุงยางอนามัยหยอดเหรียญมากที่สุดได้ สถานศึกษา ร้อยละ 3.9 รองลงมาได้แก่ หน้าร้านสะดวกซื้อ และโรงแรม ร้อยละ 3.0 และร้อยละ 2.8 ตามลำดับ สัมฤทธิ์ผลของโครงการ จากผลการศึกษาวิจัยดังกล่าวผู้วิจัยจึงนำปัญหาและความต้องการของเยาวชนมาดำเนินการพัฒนารูปแบบและกลวิธีที่เหมาะสมในการป้องการ และแก้ไขปัญหาเอดส์ในกลุ่มเยาวชน จังหวัดชลบุรี โดยจัดทำหลักสูตรเพื่อพัฒนาศักยภาพของแกนนำเยาวชน โรงเรียนเทคโนโลยีภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาศรีปทุม และมหาวิทยาบูรพา โดยความร่วมมือจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานป้องกันและควบคุมโรค พื้นที่ 3 จังหวัดชลบุรี ชมรมผู้ประกอบการที่พักอาศัยเชิงพาณิชย์ จังหวัดชลบุรี สำนักงานเทศบาลเมืองแสนสุข สำนักงานเทศบาลตำบลหนองตำลึง การพัฒนาสมรรถนะผู้เกี่ยวข้อง การจัดทำหลักสูตรเพื่อพัฒนาศักยภาพของแกนนำเยาวชนโดยครอบคลุมเนื้อหาด้านความสำคัญ บทบาท หน้าที่ของเครือข่ายแกนนำเยาชน พัฒนาทางเพศ วิถีชีวิตทางเพศ บทบาททางเพศ ความหลากหลายทางเพศ สุขภาพทางเพศ โรคติดต่อทางเพศและเอดส์ การตั้งครรภ์ การทำแท้ง และการคุมกำเนิดของเยาวชน ความรุนแรงและการล่วงละเมิดทางเพศ ทักษะการสื่อสารและการให้คำปรึกษาทางเพศ เพื่อให้แกนนำมีความรู้ ความเข้าใจ และเท่าทันต่อเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคม การระบาดของโรค และพฤติกรรมเสี่ยงของการติดเชื้อเอช ไอ วี และสามารถนำไปบอกต่อให้กับกลุ่มเยาวชนในหอพัก โดยเนื้อหาของหลักสูตรจะต้องคำนึงถึงการเรียนรู้อย่างรอบด้าน โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้ได้มีโอกาสคิด วิเคราะห์ และหาทางเลือกที่เมาะสมกับสภาวการณ์ของตนเอง เพื่อนำไปสู่พฤติกรรมที่พึงประสงค์ และเยาวชนมีความพ้อมในการดำเนินชีวิตอย่างมีสติ พร้อมที่จะรับผิดชอบตอนเองและผู้เกี่ยวข้องเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดำเนินการ การที่เยาวชนมีความรู้แต่เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถที่จะป้องกันการติดเชื้อเอช ไอ วีได้ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเพิ่มทักษะอื่นๆ เช่น ทักษะในการป้องกันตนเองนอกจากสถานการณ์เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอช ไอ วี ทักษะการปฏิเสธฯ ดังนั้นการดำเนินการควรสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย วิถีขีวิต และสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปก่อนที่จะดำเนินการป้องกันการติดเชื้อเอช ไอ วีในกลุ่มเยาวชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงควรศึกษาถึงสถานการณ์ปัญหา ความต้องการ และองค์ความรู้เดิมของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อนำมาให้ใช้ในการออกแบบการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ข้อจำกัด 1. การสร้างความร่วมมือ / การดำเนินงานร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนและกำหนดบทบาทในการทำงาน ยังไม่สามารถบูรณาการตามที่วางแผนไว้ จึงให้แผนการดำเนินงานเกิดความคลาดเคลื่อน 2. การบริหารจัดการด้านระยะเวลาและงบประมาณ ทำให้ไม่สามารถที่จำดำเนินการโครงการได้อย่างเต็มศักยภาพ การดำเนินการต่อเนื่อง การสร้างและขยายผลแกนนำเยาวชนทั้งด้านปริมาณและคุณภาพในดรงเรียนเทคโนโลยีภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาศรีปทุม และมหาวิทยาบูรพา โดยความร่วมมือจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานป้องกันและควบคุมโรค พื้นที่ 3 จังหวัดชลบุรี ชมรมผู้ประกอบการที่พักอาศัยเชิงพาณิชย์ จังหวัดชลบุรี สำนักงานเทศบาลเมืองแสนสุข สำนักงานเทศบาลตำบลหนองตำลึง การพัฒนาระบบบริการจัดการศักยภาพบุคลากรในหน่วยงาน การสร้างความร่วมมือและดำเนินงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามแผนงานที่วางไว้ โดยการจัดสรรงบประมาณ และติดตาม ควบคุมกำกับให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด และมีแผนการดำเนินงานต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะ 1. ความสามารถในการประสานความร่วมมือและสัมพันธ์ภาพกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (ภาครัฐ เอกชน และท้องถิ่น) ทั้งด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ล้วนมีส่วนผลักดันให้กิจกรรมประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 2. ในการทำงานเพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาเอดส์ในกลุ่มเยาวชนในหอพักควรมีการขับเคลื่อนร่วมกันในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังวัด สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์ ขมรมผู้ประกอบการที่พักอาศัยเชิงพาณิชย์ สถานีตำรวจ สถาบันการศึกษาฯ 3. การพัฒนาศักยภาพของเยาวชนตามหลักสูตร ควรดำเนินการโดยใช้กิจกรรมเพื่อให้เยาวชนเกิดความรู้ ความเข้าใจและเกิดความตระหนักในการป้องกันการติดเชื้อเอช ไอ วี โดยกิจกรรมจะต้องมีความต่อเนื่องและเกิดการมีส่วนร่วมอย่างสูงสุดในเยาวชน 4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาเรื่องการติดตั้งตู้ถุงยางอนามัยในหอหักหรือในสถานศึกษา เพื่อให้เยาวชนสามารถที่เข้าถึงถุงยางอนามัยได้อย่างทั่วถึง 5. สำนักวานสาธารณะสุขจังหวัด สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับชมรมผู้ประกอบการหอพัก ผลักดันให้มีการพัฒนาหอพักมาตรฐาน หอพักสร้างเสริมสุขภาพth_TH
dc.description.sponsorshipได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณพัฒนาจังหวัดชลบุรี ประจำปี พ.ศ. 2552 ภายใต้โครงการพัฒนากลไกบริหารจัดการด้านการควบคุมและป้องกันปัญหาเอดส์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี. .en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.subjectโรคเอดส์ - - การป้องกันและการควบคุมth_TH
dc.subjectโรคเอดส์ - - ไทย - - ชลบุรี - - วิจัยth_TH
dc.subjectโรคเอดส์ในวัยรุ่นth_TH
dc.titleรายงานการวิจัยและพัฒนาระบบเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์จังหวัดชลบุรี กลุ่มเยาวชนในหอพักth_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.year2553
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น