กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7351
ชื่อเรื่อง: อิทธิพลของการรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ ความรู้ ทัศนคติ ต่อพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ของสตรีตั้งครรภ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The influence of perception of pregnncy risk, knowledge, nd ttitude on preconception helth behviors mong pregnnt women
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณี เดียวอิศเรศ
ศิรินภา แก้วพวง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: ภาวะแทรกซ้อนขณะมีครรภ์
ครรภ์ -- การดูแลและสุขวิทยา
ครรภ์
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การดูแลสุขภาพเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ของสตรี จะส่งผลต่อผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ที่ดี แต่การปฏิบัติในประเทศไทยยังไม่แพร่หลาย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ และอิทธิพลของการรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ ความรู้ และทัศนคติเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ต่อพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ของสตรีตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างคือ สตรีตั้งครรภ์แรกที่มารับบริการ ณ แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลศรีสะเกษจํานวน 109 ราย กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวม ข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ และแบบสอบถามพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ของสตรีตั้งครรภ์ มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ในระดับที่ยอมรับวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณแบบมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์โดยรวมมีความไม่เหมาะสม ( X = 6.7, SD = 2.5, range = 0-16) พฤติกรรมที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ การไม่ใช้สารเสพติด (ร้อยละ 91.7) รองลงมาคือการไม่ใช้/ สัมผัสสารเคมี (ร้อยละ 91.7) และพฤติกรรมที่ปฏิบัติน้อยที่สุด คือการรับประทานกรดโฟลิก (ร้อยละ 3.7) รองลงมาคือ การรับวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันและการตรวจเลือดเพื่อหาภูมิคุ้มกันของเชื้อไวรัสเอชไอวี (ร้อยละ 8.3 เท่ากัน) การรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ และทัศนคติเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ สามารถร่วมกันทํานายพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ของสตรีตั้งครรภ์ ได้ร้อยละ 17.8 (R 2 = .178, p < .001) โดยการรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์มากที่สุด (β = .292, p < .01) ผลการวิจัยให้ข้อเสนอแนะว่า บุคลากรทางสุขภาพควรมีการรณรงค์ให้สตรีมีการรับรู้ถึง โอกาสเกิดภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ และจัดกิจกรรมให้ความรู้และส่งเสริมทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ที่ถูกต้อง เพื่อส่งผลให้สตรีมีการปฏิบัติพฤติกรรมเพื่อเตรียมตนเองให้พร้อมก่อนตั้งครรภ์ได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7351
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.05 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น