กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7350
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี
dc.contributor.advisorสุพิศ ศิริอรุณรัตน์
dc.contributor.authorชาลินี เจริญสุข
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:45:59Z
dc.date.available2023-05-12T03:45:59Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7350
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractผู้คลอดครรภ์แรกโดยเฉพาะผู้ที่ไม่เคยได้รับการเตรียมตัวเพื่อคลอดมาก่อนจะรู้สึกเครียด และทุกข์ทรมานจากการเจ็บครรภ์คลอด ไม่สามารถเผชิญการเจ็บครรภ์ได้อย่างเหมาะสม และส่งผลให้ผู้คลอดเกิดความรู้สึกไม่พึงพอใจต่อประสบการณ์การคลอด การสนับสนุนในระยะคลอดโดยญาติผู้หญิงที่ผู้คลอดเลือกให้อยู่ด้วยจะเป็นการดูแล ช่วยเหลือผู้คลอดทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจจากบุคคลที่คุ้นเคย จึงอาจช่วยเหลือผู้คลอดจากความทุกข์ทรมานจากการเจ็บครรภ์คลอด ช่วยให้สามารถเผชิญการเจ็บครรภ์ คลอดได้และมีความพึงพอใจต่อประสบการณ์การคลอด การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสนับสนุนในระยะคลอดโดยญาติผู้หญิงต่อความทุกข์ทรมานจากการเจ็บครรภ์คลอด การเผชิญการเจ็บครรภ์คลอด และความพึงพอใจต่อประสบการณ์การคลอด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้คลอดครรภ์แรกที่มารับบริการการคลอดที่ห้องคลอดโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จํานวน 50 คน เลือกตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด ผู้คลอด 25 คนแรก เป็นกลุ่มควบคุม และอีก 25 คนต่อมา เป็นกลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับการสนับสนุนในระยะคลอดโดยญาติ ผู้หญิงร่วมกับการพยาบาลตามปกติเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดความทุกข์ทรมาน จากการเจ็บครรภ์ แบบวัดการเผชิญการเจ็บครรภ์ และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อประสบการณ์การคลอด สถิติที่ใช้คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย คะแนนความทุกข์ทรมานจากการเจ็บครรภ์คลอด คะแนนการเผชิญการเจ็บครรภ์คลอดและคะแนน ความพึงพอใจต่อประสบการณ์การคลอด ด้วยสถิติการทดสอบ Independent t-test ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อประสบการณ์การคลอดมากกว่ากลุ่มควบคุมอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p= .006) แต่มีความทุกข์ทรมานและการเผชิญการเจ็บครรรภ์คลอดไม่แตกต่างจากผู้คลอด กลุ่มควบคุม (p = .098 และ p = .065) ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า การสนับสนุนในระยะคลอดโดยญาติผู้หญิงสามารถทําให้ผู้คลอดเกิดความพึงพอใจต่อประสบการณ์การคลอดมากยิ่งขึ้น พยาบาลห้องคลอด สามารถนํามาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้คลอดเพื่อส่งเสริมให้ผู้คลอดเกิดความพึงพอใจต่อประสบการณ์การคลอด
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการคลอด -- ปัจจัยเสี่ยง
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์ขั้นสูง
dc.subjectการคลอด
dc.titleผลของการสนับสนุนในระยะคลอดโดยญาติผู้หญิงต่อความทุกข์ทรมานจากการเจ็บครรภ์คลอดการเผชิญการเจ็บครรภ์คลอดและความพึงพอใจต่อประสบการณ์การคลอดของผู้คลอครรภ์แรก
dc.title.alternativeEffects of lbor support by femle reltive on suffering from lbor pin, coping with lbor pin, nd stisfction with childbirth experiences mong primiprous prturients
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativePrimiparous parturients, especially those who haven’t been prepared for childbirth will feel stress and suffering from labor pain, can’t cope with labor pain, and dissatisfaction with childbirth experiences. Labor support by a female relative of the chosen parturient, will assist in order to support for physical and emotion from the person is familiar. It may help avoid suffering from labor pain, can coping with labor pain, and promote satisfaction with childbirth experiences. The purpose of this quasiexperimental research was to examine the effect of labor support by a female relative on suffering from labor pain, coping with labor pain, and satisfaction with childbirth experiences. The sample consisted of 50 parturients in labor and delivery room at Somdejpranangchaosirikit Hospital. These parturients who met inclusion criteria were selected by include criteria. The first 25 paturients were assigned into the control group and the others were assigned into the experimental group. The control group received regular nursing care but the experimental group received both regular nursing care and labor support by a female relative. Research instruments included three measures including the suffering from labor pain scale, the coping with labor pain scale, and the satisfaction with childbirth experiences Questionnaire. Data were analyzed by using descriptive statistics; frequency, mean, standard deviation, and tested mean differences with Independent t-test. The results revealed that parturients in the experimental group had significantly more satisfaction with childbirth experiences than those inthe control group (p = .006). However, there were no significant difference of the mean suffering score and coping with labor pain between the experimental and the control groups (p = .098 and p = .065). These findings suggested that the labor support by a female relative could increase satisfaction with childbirth experiences of the primiparous parturients. Therefore, midwife should apply this labor support by a female relative to take care of the parturients in order to promote satisfaction with childbirth experiences.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการผดุงครรภ์ขั้นสูง
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.14 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น