กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6672
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาประสิทธิผลของวัสดุห่อหุ้มด้ามจับเพื่อลดความเสี่ยงที่มือและแขนในพนักงานควบคุมเครื่องตบดินแบบกระโดดในอุตสาหกรรมก่อสร้างประเภทงานดินและปรับพื้นที่ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effectiveness of insulted hndle for reducing hnd rm risk mong tmping rmmer opertors for soil leveling work in construction industry |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปวีณา มีประดิษฐ์ พรทิพย์ เย็นใจ ประภัสสร ธรรมพิทักษ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การสั่นสะเทือน มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เครื่องปั้นดินเผา |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental search) แบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าความเร่ง ความสั่นสะเทือนที่มือและแขน แรงบีบมือ อาการผิดปกติที่มือและแขน ก่อนและหลังการใช้วัสดุห่อหุ้มด้ามจับ และศึกษาความพึงพอใจต่อวัสดุห่อหุ่มด้ามจับเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ เครื่องมือวัด ความสั่นสะเทือน เครื่องทดสอบแรงบีบมือ และแบบสอบถามอาการผิดปกติที่มือและแขน และความพึงพอใจ ทำการออกแบบวัสดุห่อหุ้มด้ามจับเพื่อลดค่าความเร่งความสั่นสะเทือน โดยใช้วัสดุ 2 ชนิด คือ แผ่นยางกันสะเทือนและโฟมยาง NBR แล้วนำไปห่อหุ้มที่ด้ามจับของเครื่องตบดินแบบกระโดด ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลกับพนักงานควบคุมเครื่องตบดินแบบกระโดด ในอุตสาหกรรม ก่อสร้างประเภทงานดินและปรับพื้นที่โครงการก่อสร้างแห่งหนึ่งจำนวน 3 โครงการ ในจังหวัดระยองจำนวน 10 ตัวอย่างวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปใช้สถิติ WilcoxonSigned-Ranks Test ผลการศึกษา พบว่า เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความเร่งความสั่นสะเทือนก่อนทดลอง เท่ากับ 7.153 m/ s 2 และค่าเฉลี่ยความเร่งความสั่นสะเทือนหลังการห่อหุ้มวัสดุฯ เท่ากับ 6.509 m/ s 2 ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p =0.005) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย แรงบีบมือก่อนและหลังของการใช้วัสดุห่อหุ้มด้ามจับ พบว่า ค่าเฉลี่ยแรงบีบมือหลังการใช้วัสดุห่อหุ้มด้ามจับมีค่ามากกว่าก่อนการใช้วัสดุห่อหุ้มด้ามจับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p < 0.002) และผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของอาการผิดปกติที่มือและแขน พบว่า ความรู้สึกปวด ความรู้สึกชา และความรู้สึกกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่บริเวณอวัยวะที่รับสัมผัส ได้แก่ มือและข้อมือ ไหล่ และข้อศอก ก่อนและหลังการใช้วัสดุห่อหุ้มด้ามจับมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p < 0.006) และพนักงานมีความพึงพอใจโดยรวมต่อวัสดุห่อหุ้มด้ามจับเฉลี่ย เท่ากับ 4.00 ดังนั้นการใช้วัสดุห่อหุ้มด้ามจับเพื่อลดความสั่นสะเทือนที่มือและแขนมีผลทำให้ค่าความเร่งความสั่นสะเทือนลดลง ยังส่งผลต่อแรงบีบมือสูงขึ้นและมีผลต่ออาการผิดปกติจากการรับสัมผัสความสั่นสะเทือนลดลง อีกทั้งพนักงานมีความพึงพอใจต่อวัสดุห่อหุ้มด้ามจับเพื่อลดความสั่นสะเทือนที่มือและแขนอยู่ในระดับมาก |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6672 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.22 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น