กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6671
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออาการเจ็บป่วยจากความร้อนของพนักงานที่รับสัมผัสความร้อนโรงงานอุตสาหกรรมหลอมโลหะในเขตจังหวัดระยอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Fctors ffecting het relted illness mong employees exposed to het in metl smelting mnufcturing fctories in ryong province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปวีณา มีประดิษฐ์ อนามัย เทศกะทึก วีรพงศ์ มิตรสันเที๊ยะ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
คำสำคัญ: | แผลไหม้ ความร้อน ความร้อน -- การแผ่รังสีและการดูดซับ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านสรีรวิทยา การสูญเสียอิเล็กโทรไลต์ทางปัสสาวะ และปัจจัยด้านลักษณะงานที่ส่งผลกระทบต่ออาการเจ็บป่วยจากความร้อนของพนักงานที่รับสัมผัสความร้อนโรงงานอุตสาหกรรมหลอมโลหะ ในเขตจังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่าง 128 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 86.70 อายุ เฉลี่ยเท่ากับ 36.06± 9.76 ปี มีระยะเวลาการทำงานเฉลี่ยต่อวัน 9.93 ± 1.50 ชั่วโมง พบว่า แผนกหลอมโลหะมีค่าระดับ WBGT เฉลี่ย เท่ากับ 35.20± 0.78 องศาเซลเซียส อัตราการเต้นของหัวใจ มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมมากที่สุด ร้อยละ 93.0 และพนักงานมีการสูญเสียอิเล็กโทรไลต์ทางปัสสาวะเพิ่มขึ้นหลังจากเลิกงาน ร้อยละ 85.90 จากการศึกษาวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออาการผิดปกติจากความร้อน ประกอบด้วย 1) ผื่นคันจากความร้อนของพนักงาน ได้แก่ เพศหญิง มีค่า OR (95%CI) เท่ากับ 9.23 (1.33, 63.89) การดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีค่า OR (95%CI) เท่ากับ 3.19 (1.04, 9.78) การสวมใส่กางเกงขาสั้นหรือชุดชั้นในขาสั้น มีค่า OR (95%CI) เท่ากับ 2.76 (1.02, 7.45) การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิร่างกายที่เพิ่มขึ้น มีค่า OR (95%CI) เท่ากับ 5.27 (1.02, 27.11) และ ระยะเวลาการทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน มีค่า OR (95%CI) เท่ากับ 7.57 (1.52, 37.70) 2) อาการตะคริวจากความร้อน ได้แก่ ดัชนีมวลกายที่มากกว่าปกติ มีค่า OR (95%CI) เท่ากับ 3.29 (1.03, 10.49) และการสวมใส่กางเกงขาสั้นหรือกางเกงชั้นในขาสั้นมีค่า OR (95%CI) เท่ากับ 4.77 (1.49, 15.23)3) โรคลมร้อน ได้แก่ การสวมใส่เครื่องแต่งกายอื่น ๆ ได้แก่ ชุดกันไฟ หน้ากากกัน ความร้อน มีค่า OR (95%CI) เท่ากับ 0.02 ( 0.01, 0.23)4) อาการอ่อนเพลียเนื่องจากความร้อน ได้แก่ เพศหญิง มีค่า OR (95%CI) เท่ากับ 7.37 (1.05, 51.52) และการสวมใส่กางเกงขาสั้นหรือชุดชั้นในขาสั้น มีค่า OR (95%CI) เท่ากับ 2.70 (1.02, 7.17) จากผลการศึกษานี้มีข้อเสนอแนะว่าพนักงานที่ทำงานเกี่ยวกับความร้อนควรหลีกเลี่ยงการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในการทำงานที่ต้องสัมผัสกับความร้อน ควรสวมใส่เครื่องแต่งกายที่สามารถระบายความร้อนได้ดี ควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันความร้อนทุกครั้งเมื่อปฏิบัติงานเกี่ยวกับความร้อน ดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อย 10 แก้วต่อวัน และมีเวลาในการทำงานที่ เหมาะสมไม่ควรเกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อลดโอกาสเสี่ยงการเจ็บป่วยจากความร้อนต่อไป |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6671 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 3.68 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น