กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6666
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorจิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ
dc.contributor.advisorศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
dc.contributor.authorสุทธิพัฒน์ ศิริรัตน์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:14:57Z
dc.date.available2023-05-12T03:14:57Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6666
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรับสัมผัสสาร Methyl Ethyl Ketone (MEK) และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพการมองเห็นของพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานผลิตรองเท้าแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวนตัวอย่างทั้งหมดในการศึกษามี 162 คน แบ่งเป็นพนักงานแผนกประกอบ 110 คนและแผนกขัดแต่ง 52 คน การศึกษามีการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตรวจวัดระดับความเข้มข้นของ MEK ในปัสสาวะหลังเลิกงาน และวัดสมรรถภาพการมองเห็น (ตาบอดสีและลานสายตา) จากการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นพนักงานหญิง ร้อยละ 95.1 อายุเฉลี่ย 30.7 ปี ร้อยละ 96.9 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 32.7 ไม่เคยสูบบุหรี่ ร้อยละ 96.9 ไม่เคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 93.2 ระยะเวลานอนหลับเฉลี่ย 5.8 ชั่วโมงต่อวัน ทำงานในตำแหน่งปัจจุบันมาน้อยกว่า 7 ปี ร้อยละ 91.4 ไม่มีโรคประจำตัวและยาที่รับประทานประจำ ร้อยละ 87.0 และ 90.7 ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลโดยสวมใส่ร้อยละ 76-100 ของเวลาทำงาน ร้อยละ 91.4 มีระดับความเข้มข้นของ MEK ในปัสสาวะหลังเลิกงานเฉลี่ย 0.43 ± 0.24 mg/ L สำหรับ สมรรถภาพการมองเห็น พบว่า อาการเกี่ยวกับสายตาที่เป็นตลอดเวลาได้แก่ อาการแสบตา/ เจ็บตา ตาอักเสบ/ แดงบวม มองเห็นภาพซ้อนและเห็นสีรุ้งรอบดวงไฟ ส่วนใหญ่ไม่มีอาการตาบอดสีร้อยละ 72.2 และไม่มีความผิดปกติของลานสายตา ร้อยละ 98.8 เมื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับสมรรถภาพการมองเห็น พบว่า อายุกับอาการเกี่ยวกับสายตามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p = 0.034) และสถานภาพกับอาการเกี่ยวกับสายตามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p = 0.041) แต่สำหรับปัจจัยด้านอื่น ๆ กับสมรรถภาพการมองเห็น พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กัน แต่อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์เป็นข้อมูล สำหรับการควบคุมและลดผลกระทบต่อสุขภาพของสาร MEK ในอนาคตได้
dc.language.isoth
dc.publisherคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการมองเห็น
dc.subjectสมรรถภาพ
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
dc.titleการประเมินการรับสัมผัสสาร Methyl ethyl ketone ในปัสสาวะและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพการมองเห็นของพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานผลิตรองเท้าแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
dc.title.alternativeThe evlution of methyl ethyl ketone exposure in urine nd fctors relted to visul performnce mong production workersin shoe mnufcturing fctory in bngkok
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis research was a cross sectional study which aimed to evaluate Methyl Ethyl Ketone (MEK) exposure in urine and factors related to visual performance among production workers in a shoe manufacturing factory in the Bangkok Metropolitan region. 162 participants were recruited; 110 worked in the shoe assembly department and 52 persons worked in the finishing department. Three types of data were collected: questionnaire was administered, urine samples were collected after the work shift to analyze for the presence of MEK and a visual performance test (for color blindness and visual field) was conducted. Most workers were women (95.1%), with a mean age of 30.7 yearsold. Most received primary education (32.7%). Nearly all of them (96.9% and 93.2%, respectively) never smoked or consumed alcoholic beverages. Mean sleep duration was5.8 hours a day. 91.4% of the participants had worked in their current position for less than 7 years. A large majority reported to have no preexisting illnesses or diseases and did not use any medication (87.0% and 90.7%, respectively). All had experience using personal protection equipment, with 91.4% reporting they always used it. The results of urine analysis showed that the average urine MEK concentration was 0.43 ± 0.24 mg/ L. In terms of visual performance, we found that a small number of workers reported continuous eye irritation/ pain and blurred vision as well as reporting a rainbow glare (1.2% reported each of these symptoms). Most of them reported no color blindness (72.2%)or any other abnormal visual field (98.8%).Statistically, the relationshipsbetween all factors studied and visual performance were not significant. Only age and marital status were related significantly to eye symptoms (p = 0.034, p = 0.041, respectively). Despite this, the author suggests that the results of this study are useful to the field concerned with reducing adverse health effects on workers due to MEK and exposure.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.05 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น