กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6665
ชื่อเรื่อง: คุณภาพชีวิตของผู้ช่วยแพทย์แผนไทยในหน่วยบริการทางด้านสุขภาพของภาครัฐพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Qulity of life of ssistnt trditionl thi medicine in helth center of the west southern re
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ยุวดี รอดจากภัย
นิภา มหารัชพงศ์
ณวพร กรบริสุทธิ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: คุณภาพชีวิต
บุคลากรทางการแพทย์
ผู้ช่วยพยาบาล
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ช่วยแพทย์แผนไทยในหน่วยบริการทางด้านสุขภาพของภาครัฐ พื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นบุคคลที่ประกอบอาชีพด้านการให้บริการเกี่ยวกับการนวดแผนไทย ผ่านการจบหลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทยไม่น้อยกว่า 330 ชั่วโมง จำนวน 254 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างง่าย โดยการจับฉลากแบบไม่คืนที่ (Simple Random Sampling without replacement) พื้นที่การวิจัยคือ ระนอง ภูเก็ต พังงา ตรังกระบี่ และสตูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ส่วนที่ 1 ปัจจัยทางด้านลักษณะบุคคล ส่วนที่ 2 ประสบการณ์ด้านการทำงาน ส่วนที่ 3 ประสบการณ์การเจ็บป่วย ส่วนที่ 4 การปฏิบัติงานด้านแพทย์แผนไทย และส่วนที่ 5 คุณภาพชีวิตของผู้ช่วยแพทย์แผนไทย การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านงานวิจัย และวิเคราะห์ค่าความเที่ยง โดยการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Coefficient alpha) ) ซึ่งกำหนดค่าความเชื่อมั่นมากกว่า 0.7 จากนั้นนำแบบสอบถามที่สมบูรณ์ หลังจากทำการปรับปรุงแก้ไขไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดต่อไป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistic) และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต ด้วย Chi-square test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัย พบว่าคุณภาพชีวิตของผู้ช่วยแพทย์แผนไทยในหน่วยบริการทางด้านสุขภาพของภาครัฐ พื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ในภาพรวมทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับกลาง ๆ มีค่าเฉลี่ยที่ 76.1 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 25.9 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ระดับคุณภาพชีวิตของผู้ช่วยแพทย์แผนไทยอยู่ในระดับดีมี 2 ด้านคือ ด้านจิตใจและด้านสัมพันธภาพทางสังคมในระดับกลาง ๆ คือ ด้านสุขภาพร่างกาย ส่วนระดับคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับไม่ดี และปัจจัยทางด้านลักษณะบุคคล ประสบการณ์ด้านการทำงาน ประสบการณ์การเจ็บป่วย และการปฏิบัติงานด้านแพทย์แผนไทยที่มีทั้งความสัมพันธ์และไม่มีกับคุณภาพชีวิตของผู้ช่วยแพทย์แผนไทย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6665
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.47 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น