กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6664
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorยุวดี รอดจากภัย
dc.contributor.advisorนิรัตน์ อิมามี
dc.contributor.authorปรียาภรณ์ นิลนนท์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:14:57Z
dc.date.available2023-05-12T03:14:57Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6664
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพสำหรับสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ตำบลปากน้ำ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองของแบนดูรา (Bandura) กลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุที่มีอายุ 60-69 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิงของชมรมผู้สูงอายุในอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่คัดเลือกจากชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลปากน้ำ 30 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 30 คน จากชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลบางคล้า เฉพาะกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่เน้นกิจกรรมการพัฒนาการรับรู้ความสามารถตนเองในการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย และความคาดหวังในผลดีของการปฏิบัติเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกาย ได้แก่ กิจกรรมการอภิปรายกลุ่ม และการฝึกปฏิบัติรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมการทดลองด้วยสถิติ Paired Samples t-testและ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถตนเองเกี่ยวกับการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายความคาดหวังในผลของการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายและมีค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบและมากกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05 ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบ มีค่าเฉลี่ยทั้ง 3 ด้านไม่ต่างกันทางสถิติกับก่อนการทดลอง แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมดังกล่าวมีประสิทธิผลในการเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถตนเองความคาดหวังในผลของการปฏิบัติและพฤติกรรมการปฏิบัติในด้านการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายที่พึงประสงค์ สามารถนำไปประยุกต์สำหรับชมรมผู้สูงอายุหรือผู้สูงอายุกลุ่มอื่น ๆ
dc.language.isoth
dc.publisherคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectผู้สูงอายุ -- การออกกำลังกาย
dc.subjectผู้สูงอายุ -- สุขภาพและอนามัย
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ
dc.titleผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพสำหรับสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
dc.title.alternativeThe effects of helth promotion progrm for elderly club members, bng khl district, chchoengso province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this quasi-experimental research was to study the effects of health promotion program for elderly club members of Paknam municipality, Bang Khla district Chachoengsao province that Bandura’s theory of self-efficacy was applied. The study samples were 60 male and female elderly club members, aged between 60-69 years. Thirty of them were selected from one elderly club of Paknam municipality and assigned into the experimental group while the other 30 members were recruited from an elderly club of Bang Khla municipality as the comparison group that both clubs were in Bang Khla district, Chachoengsao province. Only the experimental group received the elderly health promotion program activities enhancing self-efficacy, outcome expectation, and behavioral practices regarding dietary and exercise were emphasized. Main activities included group discussion and practices. Data were collected before and after the experiment using a structured interview questionnaire. Data were analyzed by frequency, percent, mean, and standard deviation. The effectiveness of the study intervention was tested by paired samples t-test and independent t-test. Results of the study revealed that after experimentation, the experimental group gained significantly higher mean scores of perceived self-efficacy, outcome expectation, and behavioral practices in relation to food consumption and exercise than that of the comparison group and before experimentation at p<0.05. While the average scores of the three aspects of the comparison group between before and after experimentation were not statistically different. It indicated that the program was effective in enhancing perceived self-efficacy, outcome expectation, and expected behavioral practices about dietary and exercise that should be applied for other elderly clubs or elderly groups.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการสร้างเสริมสุขภาพ
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.27 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น