กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6658
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
dc.contributor.authorนิรัชรา เหลี่ยมเลิศ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:14:56Z
dc.date.available2023-05-12T03:14:56Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6658
dc.descriptionงานนิพนธ์ (ส.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่มายาวนาน ใช้ชีวิตทำงานหนัก เลี้ยงลูกหลานเกือบตลอดชีวิต สุขภาพร่างกายย่อมเสื่อมโทรม และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ทั้งสุขภาพกาย จิต และสังคม จึงควรมีการดูแล และได้รับการเอาใส่ สนับสนุนจากสังคม เพื่อยืดชีวิตอย่างมีคุณภาพให้ยาวนานที่สุด ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้ จึงต้องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมในการดูแลสุขภาพกับคุณภาพชีวิต กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ 280 คน ซึ่งสุ่มมาจากผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลบางผึ้ง อำเภอบางปะกง ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เป็นผู้ได้รับเบี้ยผู้สูงอายุและมีผลวัด ADL 12 คะแนนขึ้นไป ข้อมูลเก็บด้วยวิธีสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ระหว่าง 1-30 มิถุนายน 2560 และวิเคราะห์ด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุส่วนมากเป็นผู้หญิง (61.1%) อายุเฉลี่ย 71.36 ± 8.04 ปี สมาชิกครอบครัวมี 3-4 คนร้อยละ 39.3 ผู้ดูแลเป็นญาติร้อยละ 99.3 คะแนน ADL 17-19 ร้อยละ 76.1 มีโรคประจำตัวร้อยละ 48.9 ในจำนวนนี้เป็นโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 83.9 ผู้อายุมีการสนับสนุนทางสังคมโดยรวม คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 69.6 มีการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐมากสุด รองลงมา วัด ญาติ อสม. และเพื่อน คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 77.5, 74.6, 72.9, 70.4 และ 52.5 ตามลำดับ มีคุณภาพชีวิตโดยรวม คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 77.0 มีคุณภาพชีวิตทางสังคมมากสุด รองลงมา สิ่งแวดล้อม ทางร่างกาย และทางจิตใจ คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80.2, 80.0, 75.2 และ 70.3 ตามลำดับ การสนับสนุนทางสังคมกับคุณภาพชีวิตสัมพันธ์กันเชิงบวก (r = 0.48 p< 0.01) โดยรวมการสนับสนุนจากญาติ เพื่อน วัด อสม. และหน่วยงานรัฐ กับคุณภาพชีวิตโดยรวม สัมพันธ์กันเชิงบวกให้สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ 0.32, 0.30, 0.44, 0.27 และ 0.44 ดังนั้น จึงควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อนให้มากขึ้น
dc.language.isoth
dc.publisherคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
dc.subjectผู้สูงอายุ -- สุขภาพและอนามัย
dc.subjectผู้สูงอายุ -- การดูแล
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมในการดูแลสุขภาพกับคุณภาพผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลบางผึ้ง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
dc.title.alternativeThe reltionship between socil support in helth cre nd qulity of life of the elderly in bng phueng sub-district municiplity of bngpkong district, chchoengso province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe elderly have a long life, hard work, raising children for life almost forever. Their health were deteriorated, and affect quality of life both physical, mental and social health. So, their health should be maintained, and be attentive social support in order to stand for the longest life. Therefore, this research needs to study the relationship between social support in elderly care and the quality of life of the elderly. The sample consisted of 280 elderly people who were randomly selected from the elderly in Bangphurng Subdistrict Municipality of Bang Pakong District, age 60 years and over, who received the elderly allowance and had ADL score of 12 points and more. Data were collected at home, by structured interview during June 1-30, 2017 and analyzed by percentage, mean, standard deviation and Pearson’s Correlation. The study found that the majority of the elderly were female (61.1%), with an average age of 71.36 ± 8.04 years, their family members were 3-4 persons (39.3%) were relatives (99.3%), ADL 17-19 (76.1%) and they were sick with 48.9% Of underlying disease. In this number, 83.9% of them were hypertension. Elderly people had overall social support at the 69.6% of average score, supported by the most government agencies, followed by temples, relatives, VHV and friends at the 77.5%, 74.6%, 72.9%, 70.4 and 52.5% of average score respectively. There were overall quality of life at the 77.0% of average score: by the most in quality of social life, followed by the environment physical and mental at the 80.2%, 80.0%, 75.2%, and 70.3% of average score respectively. Social support and quality of life were positively correlated (0.48 p <0.01), with support from relatives, friends, temples, VHV and government agencies, overall quality of life Positive correlation Correlation coefficients 0.32, 0.30, 0.44, 0.27 and 0.44 respectively. Therefore, it was recommended that to encouraged higher social support from friends.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineสาธารณสุขศาสตร์
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.72 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น