กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6657
ชื่อเรื่อง: การติดตามประเมินผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A follow-up study on implementtion of prevention nd control of dengue hemorrhgic fever in mung district, knchnburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วสุธร ตันวัฒนกุล
สุนทร หงษ์ทอง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
ไข้เลือดออก
ไข้เลือดออก -- การป้องกันและควบคุม
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ตามกระบวนการบริหาร การดำเนินงานตามโครงการ ต้องมีการติดตามประเมิน เพื่อตรวจค้นหาจุดอ่อนหรือช่องว่างของการดำเนินงาน สำหรับใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานต่อไป สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองกาญจนบุรี มีโครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกเป็นประจำทุกปี ที่ผ่านมายังขาดการติดตามประเมินอย่างเป็นระบบ ดังนั้น การศึกษานี้จึงต้องการติดตามประเมินผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของอำเภอเมืองกาญจนบุรี ปีงบประมาณ 2559 โดยใช้ตามรูปแบบการประเมินของสเตก ข้อมูลเก็บช่วงเดือนมกราคม 2560 จากเอกสารราชการ สัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 22 คน เจ้าหน้าที่หัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 74 คน และส่งแบบสอบถามให้หัวหน้าครัวเรือน 186 คนตอบ ข้อมูลทั้งหมดนำมาสรุปผลด้วยการวิเคราะห์เอกสาร แจกแจงความถี่ คำนวณร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบผลสำเร็จของโครงการด้วย t-test กลุ่มเดียว ผลการติดตามประเมินผล พบว่า มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 40 แห่ง มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 22 คน รับผิดชอบโดยตรง โดยใช้งบประมาณประมาณ 3 ล้านบาท มีผู้ป่วย 111 คน คิดเป็นอัตราความชุก 95.29 ต่อแสนประชากร ลดลงร้อยละ 18.6 จากค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง และไม่พบผู้เสียชีวิต ประชาชนมีแรงจูงใจในการป้องกันโรคโดยรวมเฉลี่ยร้อยละ 78.6 คาดหวังผลการป้องกันมากสุด รองลงมา คาดว่า สามารถป้องกันได้ รับรู้โอกาสเสี่ยง และรับรู้ความรุนแรงน้อยสุด ร้อยละ 84.6, 80.7, 77.2 และร้อยละ 71.7 ตามลำดับ มีส่วนร่วมการดำเนินงานโดยรวมเฉลี่ยร้อยละ 78.7 ร่วมตัดสินใจมากสุด รองลงมา ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับประโยชน์ และร่วมประเมิน ร้อยละ 79.4, 79.4, 78.7 และร้อยละ 76.8 ตามลำดับ ประชาชนพอใจการดำเนินงานโดยรวมเฉลี่ยร้อยละ 76.7 ต่อบุคลากรมากสุด รองลงมาต่อเวลาการดำเนินงาน การดำเนินงาน และสิ่งอำนวยความสะดวก ร้อยละ 77.9, 77.4, 75.9 และร้อยละ 75.3 ตามลำดับ ส่วนเจ้าหน้าที่พอใจเฉลี่ยร้อยละ 68.3 และผู้เกี่ยวข้องพอใจเฉลี่ยร้อยละ 75.4 โดยประชาชนมีแรงจูงใจในการป้องกัน มีส่วนร่วม และมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานเฉลี่ยร้อยละน้อยกว่า 80.0 เว้นคาดหวังผลการป้องกัน คาดว่าสามารถป้องกันได้ ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติ และร่วมรับประโยชน์ เท่านั้นที่ได้เฉลี่ยร้อยละเท่ากับหรือมากกว่า 80.0 ประชาชน เจ้าหน้าที่ และผู้เกี่ยวข้องพอใจผลการดำเนินงานน้อยกว่าร้อยละ 80.0 แสดงว่า การดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของอำเภอเมืองกาญจนบุรี ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร จึงควรให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่มีแรงจูงใจในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (ส.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6657
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น