กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6655
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วสุธร ตันวัฒนกุล | |
dc.contributor.author | ทิฆัมพร สักกะตะ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:14:56Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:14:56Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6655 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (ส.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคอันตรายร้ายแรง แต่ละปีฆ่าชีวิตสตรีเป็นจำนวนมาก ทำให้สตรีมีความเสี่ยงที่ต้องเผชิญกับโรคดังกล่าว การตรวจคัดกรองเป็นมาตรการหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาได้ จึงมีโครงการรณรงค์ตรวจคัดกรองสตรีกลุ่มเสี่ยงเป็นประจำทุกปี ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้จึงต้องการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเสี่ยงของอำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี โดยใช้ตามรูปแบบการประเมินของสเตค เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางราชการ สัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 14 คน ที่รับผิดชอบโดยตรง เจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 48 คน และส่งแบบสอบถามให้สตรีกลุ่มเสี่ยง 180 คนตอบ ข้อมูลทั้งหมดนำมาสรุปผลด้วยการ วิเคราะห์เอกสาร แจกแจงความถี่ คำนวณร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบผลสำเร็จของโครงการด้วย t-test กลุ่มเดียว การติดตามประเมินผล พบว่า ปี 2559 การตรวจคัดกรองของอำเภอประจันตคามมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 24 แห่ง งบประมาณที่ใช้ประมาณ 2 แสนบาท สตรีกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรอง 2,537 คน หรือร้อยละ 30.2 พบสตรีกลุ่มเสี่ยงมีผลตรวจผิดปกติและส่งต่อ 6 คน ผลเชิงพฤติกรรมสุขภาพ สตรีกลุ่มเสี่ยงมีแรงจูงใจในการป้องกันโรคโดยรวมร้อยละ 85.5 มีการคาดหวังความสามารถตนเองมากสุด รองลงมา การรับรู้ความรุนแรง ความคาดหวังผลลัพธ์และการรับรู้โอกาสเสี่ยง ร้อยละ 87.8, 87.7, 86.9 และ 80.0 ตามลำดับ เข้าถึงบริการโดยรวม ร้อยละ 85.4 ความเพียงพอของบริการมากที่สุด รองลงมา ความสะดวกและสิ่งอำนวยความสะดวก เข้าถึงแหล่งบริการ ยอมรับคุณภาพบริการ และความสามารถจ่ายค่าบริการร้อยละ 87.7, 86.9, 86.8, 86.6 และ 79.1 ตามลำดับ และผลความพึงพอใจต่อการรณรงค์ตรวจคัดกรอง พบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านพอใจมากที่สุด รองลงมา ผู้นำชุมชน สตรีกลุ่มเสี่ยง เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ ร้อยละ 88.9, 85.0, 80.4, 80.2 และ 72.4 ตามลำดับ โดยแรงจูงใจในการป้องกัน การเข้าถึงบริการ และความพึงพอใจต่อการดำเนินงานการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกของอำเภอประจันตคามประสบความสำเร็จได้ผลมากกว่าร้อยละ 80.0 เว้นเพียงเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีความพึงพอใจไม่ถึงร้อยละ 80.0 ดังนี้ ในปีต่อไป จึงควรรณรงค์ให้สตรีกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการตรวจคัดกรองเพิ่มขึ้นและเพิ่มแรงจูงใจให้เจ้าหน้าที่รับผิดชอบ | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ | |
dc.subject | มะเร็งปากมดลูก -- การป้องกันและควบคุม | |
dc.subject | มะเร็งปากมดลูก | |
dc.title | การติดตามประเมินผลการดำเนินงานตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30-60 ปี อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี | |
dc.title.alternative | A follow-up study on the implemnttion of cervicl cncer screening test mong women ged 30-60 yer old of prchntkhm district, prchinburi province | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | Cervical cancer is a serious disease. Each year, many women were killed lives. Women are at risk of having to face such cancers. Screening is one measure that reduces the problem. There is a campaign to screen women at risk groups every year. Therefore, this study needs to monitor the evaluation of cervical cancer screening among at risk in Prachantakham district, Prachinburi province by using Stake’s Evaluation model. Data were collected from official documents, and by structured interview with 14 public health-related health staff directly, responsible 48 relevant agency staff and 180 questionnaires were distributed to women at risk. Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, and tested the success of the project with one sample t-test. The results of this follow-up study revealed that in 2559, the screening test of Prachantakham district had 24 related offices, used the budget about two hundred thousand Bath, there were 2,537 women or 30.2 percent of them who were screening test, and 6 women or 0.2 percent of them who were abnormal and referred to general hospital. The results on health behavior, protection motivation behavior of these women in overall at the 85.5 percent of average score. It was perceived self-efficacy in the most , followed by perceived severity, response efficacy and vulnerability at the 87.8, 87.7, 86.9 and 80.0 percent of average score respectively. Service access of these women in overall at the 85.4 percent of average score. It was availability in the most, followed by accommodation, accessibility, acceptability and affordability at the 87.7, 86.9, 86.8, 86.6, and 79.1 percent of average score respectively. The satisfaction toward the screening campaign showed that village health volunteers most satisfaction, followed by community leaders, women, relevant officials and officer responsible at the 88.9, 85.0,80.4,80.2 and 72.4 percent of average score respectively. The protection motivation, service access and satisfaction toward cervical cancer screening test of Prachantakham district was more than 80.0 percent, except public health officers, there were less satisfied than 80.0 percent. So, in next year it should encourage women at risk to perceive screening test and reinforce to public health officers. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | สาธารณสุขศาสตร์ | |
dc.degree.name | สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.37 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น