กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6644
ชื่อเรื่อง: | ผลของเบาะรองนั่งเพื่อลดแรงสั่นสะเทือนในพนักงานขับรถติดตั้งตัวตอกเสาเข็มพืดระบบสั่นสะเทือน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effects of set cushion on reducing vibrtion mong vibrtory hmmer pile drivers |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปรีณา มีประดิษฐ์ พรทิพย์ เย็นใจ สุภาวดี บุญจง มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
คำสำคัญ: | เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ รถยนต์ -- เบาะนั่ง เบาะรองนั่ง |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของเบาะรองนั่งที่ทำจากยางธรรมชาติ ยางไนไตรล์ และยางบิวไทล์ประสานด้วยกาวยาง เพื่อลดแรงสั่นสะเทือนโดยรูปแบบการวิจัยแบบภาคตัดขวาง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากพนักงานขับรถติดตั้งตัวตอกเสาเข็มพืดระบบสั่นสะเทือนของงานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งพังแห่งหนึ่ง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กำหนดเกณฑ์คัดเข้าคือขับรถติดตั้งตัวตอกเสาเข็มระบบสั่นสะเทือนในช่วงระยะเวลาที่ทำการศึกษา ยินดีเข้าร่วมการวิจัย และไม่เป็นโรคประจำตัวที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูก จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้สึกปวดบริเวณหลังส่วนล่างและเครื่องวัดแรงสั่นสะเทือน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 43 ปี (±10.62) น้ำหนักเฉลี่ย 68 กิโลกรัม (±6.6) ในหนึ่งวันขับรถเฉลี่ย 8 ชั่วโมง ขับรถต่อเนื่องยาวนานที่สุดในหนึ่งวันเฉลี่ย 4.6 ชั่วโมง (±1.18) ประสบการณ์ในการขับรถติดตั้งตัวตอกเสาเข็มพืด โดยเฉลี่ยคือ 15.87 ปี (±9.87) ผลการประเมินการรับสัมผัสแรงสั่นสะเทือนพบว่าก่อนใช้เบาะรองนั่งกลุ่มตัวอย่างรับสัมผัสแรงสั่นสะเทือนเกินกว่าค่ามาตรฐาน ISO 2631-1,1997 (0.5 m/s2) ร้อยละ 86.67 และหลังการใช้เบาะรองนั่งกลุ่มตัวอย่างรับสัมผัสแรงสั่นสะเทือนเกินกว่าค่ามาตรฐานร้อยละ 53.33 ผลประเมินอาการปวดหลังส่วนล่าง พบว่า ก่อนใช้เบาะรองนั่งกลุ่มตัวอย่างที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างระดับมาก ร้อยละ 53.33 มีอาการปวดหลังส่วนล่างปานกลาง ร้อยละ 46.67 และหลังการใช้เบาะรองนั่งกลุ่มตัวอย่างมีอาการปวดหลังส่วนล่างมาก ร้อยละ 13.33 และมีอาการปวดหลังส่วนล่างปานกลาง ร้อยละ 40 ผลการเปรียบเทียบแรงสั่นสะเทือนที่กลุ่มตัวอย่างรับสัมผัสก่อน-หลังการใช้เบาะรองนั่ง พบว่า ก่อนการใช้เบาะรองนั่ง แกน X เท่ากับ 0.124 m/s 2 แกน Y เท่ากับ 0.077 m/s 2 และแกน Z เท่ากับ 0.366 m/s 2 หลังใช้เบาะรองนั่งวัดแรงสั่นสะเทือนได้เท่ากับ 0.062 m/s 2, 0.011 m/s 2 และ 0.282 m/s2 ตามลำดับแตกต่างกันมีนัยสำคัญ P-value เท่ากับ 0.001 ผลเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของค่าความเร่งของแรงสั่นสะเทือนของแต่ละความถี่ ก่อนและหลัง การใช้เบาะรองนั่งพบว่า มีความแตกต่างกันมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ที่ความถี่ 0.8 Hz, 25 Hz, 31.5 Hz, 40 Hz, 50 Hz ,80 Hz ค่า P-Value เท่ากับ 0.034, 0.001, 0.001, 0.001, 0.012, 0.041 ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจมากในการใช้เบาะรองนั่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ4.04 จากผลการศึกษาดังกล่าว เบาะรองนั่งที่ใช้สามารถลดแรงสั่นสะเทือนทั้งร่างกายในพนักงานกลุ่มตัวอย่าง โดยทำให้ความรู้สึกปวดบริเวณหลังส่วนล่างลดลง และมีความพึงพอใจในการใช้งานระดับมาก |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6644 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.46 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น