กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6642
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorชิงชัย เมธพัฒน์
dc.contributor.advisorกุหลาบ รัตนสัจธรรม
dc.contributor.advisorทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข
dc.contributor.authorธนัญชัย บุญหนัก
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:12:21Z
dc.date.available2023-05-12T03:12:21Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6642
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ส.ด. ) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ พัฒนาแบบจำลองสมการโครงสร้างความรุนแรงของอุบัติเหตุจราจร และหาแนวทางการลดความรุนแรงของอุบัติเหตุจราจรที่มีสาเหตุมาจากความบกพร่องและพฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัยของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในเขตอุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่น้อยกว่า 3 ปี ในเขตอุตสาหกรรม ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 580 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามที่ผ่านการวิเคราะห์คุณภาพมีค่าความเชื่อมั่นมากกว่า .7 การประชุมกลุ่มเฉพาะ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการยืนยันโดยผู้เชี่ยวชาญด้วยเทคนิคเดลฟาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง อัตราส่วนออดส์ การถดถอยโลจิสติค มัธยฐาน และพิสัยควอไทล์ ผลการวิจัย พบว่า จากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบพบ ปัจจัยที่ทำให้เกิดความรุนแรงของอุบัติเหตุ คือ การไม่สวมหมวกนิรภัย (OR=10.65, 95% CI: 2.14-52.97) และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (OR=3.23,95% CI: 1.77-5.89) แบบจำลองสมการโครงสร้างของอุบัติเหตุจราจร พบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างความบกพร่องของผู้ขับขี่ พฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย และความรุนแรงของอุบัติเหตุจราจรที่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 81 ผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดความรุนแรงของอุบัติเหตุจราจรเรียงจากมากไปน้อย คือ การไม่สวมหมวกนิรภัย การขับตามหลังรถคันอื่นในระยะกระชั้นชิด การขับขี่ย้อนทางเดินรถ การขับขี่รถตัดหน้ากระชั้นชิด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการไม่มีความรู้เรื่อง กฏจราจร (ORAdj= 6.47, 4.30, 4.16, 4.14, 2.89 และ 1.57 ตามลำดับ) การขับขี่รถจักรยานยนต์ควรมีมาตรการเฉพาะในการเพิ่มการสวมหมวกนิรภัยทุกครั้ง ไม่ขับตามหลังรถคันอื่นในระยะกระชั้นชิด หรือขับขี่ย้อนทางเดินรถ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เมื่อขี่รถจักรยานยนต์และการเสริมความรู้เรื่องกฏจราจรให้กลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง โดยความร่วมมือของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ครอบครัว/ เพื่อนร่วมงาน สังคมและหน่วยงาน ประกอบด้วย ขนส่ง ตำรวจจราจร กลุ่มอาสาสมัคร มูลนิธิกู้ภัย แขวงการทาง ทางหลวง ชุมชน เทศบาล สถานประกอบการ หน่วยงานทางการศึกษา หน่วยงานสาธารณสุข ผู้รับผิดชอบนโยบาย โดยมีแนวทางทั้ง ก่อนการขับขี่ ระหว่างขับขี่ และหลังการขับขี่หรือการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
dc.language.isoth
dc.publisherคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
dc.subjectการขับขี่จักรยานยนต์
dc.subjectอุบัติเหตุทางถนน
dc.subjectอุบัติเหตุ -- การป้องกันและควบคุม
dc.subjectอุบัติเหตุจราจร
dc.titleการพัฒนาแบบจำลองสมการโครงสร้างและแนวทางการลดความรุนแรงของอุบัติเหตุจราจรที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมและความบกพร่องของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในเขตอุตสาหกรรม
dc.title.alternativeDeveloping the structurl eqution model nd guideline for reducing trffic ccident severity cused by motorcyclists’ behviors nd personl defectsin n industril re
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis development research was aimed at synthesizing knowledge, developing a structural equation model of traffic accident severity, and finding guideline for reducing traffic accident severity caused by the motorcyclists’ unsafe behaviors and personal defects in an industrial area. The study subjects included 580 peoples, who had been riding a motorcycle for at least 3 years in the industrial area drawn by simple random sampling. Data were collected by using questionnaires with reliability of more than 0.7, focus group interview, indepth interview, and confirmed the results by experts using Delphi technique. The data were analyzed in terms of frequency, percentage, exploratory factor analysis (EFA), structural equation model, odds ratio, logistic regression, median, and inter quatile range. The results revealed that based on the systematic review, factors contributed to severity of accident were comprised of not wearing a helmet (OR=10.65, 95% CI: 2.14-52.97) and alcohol drinking (OR=3.23, 95% CI: 1.77-5.89). The structural equation model indicated that a causal relationship was found among the riders’ negligence, unsafe riding behaviors, and traffic accident severity. The findings were consistent with the empirical data , and the percentage of prediction was 81%. The result of this study found that risk factors associated with the severity of traffic accidents included not wear a helmet, riding behind another vehicle in a close distance, riding in a wrong lane, cutting off other motorists, alcohol drinking, and ignorance of the traffic laws (ORAdj =6.47, 4.30, 4.16, 4.14, 2.89, and 1.57 respectively). The guildeline for reducing motorcycle accident severity included increasing of helmet wearing, not riding behind another vehicle in close distance, not riding in the wrong lane, cutting off other motorists, not drinking alcohol when riding, and continuously promote the knowledge of the traffic laws. Collaborative efforts among motorcyclists, family/ friends, and society/ agency (transport office, traffic police, rescue volunteers, highway office, community/ local organization, education institute, health units, and responsible policy maker) should be established to reduce severity of traffic accidents.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineสาธารณสุขศาสตร์
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.19 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น