กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6640
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorวัลลภ ใจดี
dc.contributor.advisorกุหลาบ รัตนสัจธรรม
dc.contributor.advisorวนัสรา เชาวน์นิยม
dc.contributor.authorญาณันธร กราบทิพย์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:12:21Z
dc.date.available2023-05-12T03:12:21Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6640
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ส.ด. ) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยพัฒนานี้เพื่อพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะนักสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเตรียมความพร้อมรับสาธารณภัยจากน้ำท่วม ดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือ 1) วิเคราะห์สถานการณ์โดยการถอดบทเรียนสถานการณ์น้ำท่วม หลักสูตรที่มีในปัจจุบัน 2) สำรวจสมรรถนะนักสาธารณสุขจากนักสาธารณสุขที่สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วนทั้ง 4 ภูมิภาค 189 คน สร้างแนวทางจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ และ 3) ประเมินแนวทางด้วยการยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญด้วยเทคนิคเดลฟาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ สกัดองค์ประกอบด้วยวิธีองค์ประกอบหลัก หมุนแกนองค์ประกอบแบบออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ วิเคราะห์การถดถอย วิเคราะห์เนื้อหา ค่ามัธยฐาน และพิสัยควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะเดิมของนักสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเตรียมความพร้อมรับสาธารณภัยจากน้ำท่วมอยู่ในระดับปานกลางถึงต่ำ มากกว่าร้อยละ 80 และพบมีเนื้อหาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องในสถาบันการศึกษาน้อย วิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะแล้วพบ 6 องค์ประกอบ มีตัวแปรทั้งหมด 50 ตัวแปร ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1) การจัดระบบงานสาธารณสุข ดูแล ช่วยเหลือ เยียวยา ผู้ประสบภัย 2) การประสานงาน การสื่อสาร การจัดการเหตุการณ์เฉพาะหน้า 3) การวางแผนเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรและชุมชน 4) การประเมินสถานการณ์และการระบุแนวทางแก้ไข 5) การบริหารความเสี่ยงและปฏิบัติตามหลักมนุษยธรรม 6) การเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพ มีตัวแปรที่บรรยายองค์ประกอบ 12, 12, 8, 6, 7 และ 5 ตัวแปร ตามลำดับ โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ >.5 ทุกตัวแปรยกเว้นตัวแปร 2 ตัวในองค์ประกอบที่ 5 และ 6 และพบว่าประสบการณ์ในการซ้อมแผนปฏิบัติการพร้อมรับสาธารณภัยกรณีน้ำท่วม และประสบการณ์การทำงานด้านการฟื้นฟูเยียวยา เป็นปัจจัยที่ทำนายสมรรถนะโดยรวม (R20.555) แนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะนักสาธารณสุข สามารถดำเนินการโดยสถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และตัวนักสาธารณสุขเอง มีวิธีการที่สำคัญคือการจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการฝึกซ้อมแผน การอบรมควบคู่กับการทำงาน การประชุมสัมมนาทางวิชาการ การมอบหมายเรียนรู้การทำงานตามโครงสร้างภาระงาน การหมุนเวียนงาน การจัดการความรู้ การศึกษาด้วยตนเองและการศึกษาดูงาน (IQR ไม่เกิน 1.5) ดังนั้น สถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และนักสาธารณสุข หากร่วมกันกับพหุภาคีดำเนินการพัฒนาความสามารถและสมรรถนะให้กับนักสาธารณสุข โดยเน้นจัดให้เกิดประสบการณ์ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมั่นใจเมื่อเกิดเหตุการณ์สาธารณภัยน้ำท่วมจะเกิดประโยชน์กับส่วนรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
dc.language.isoth
dc.publisherคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
dc.subjectน้ำท่วม -- การป้องกันและควบคุม
dc.subjectน้ำท่วม
dc.subjectอุทกภัย
dc.titleรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะนักสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเตรียมความพร้อมรับสาธารณภัยจากน้ำท่วม
dc.title.alternativeThe competencies development model of public helth personnel in locl government on prepredness for flood disster
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to propose a guideline for developing a model to enhance competencies of public health professionals in local governments for preparedness and management of the flood disasters. Three stages were implemented as follows: Phase 1 was to analyze the current methods that are in place for flood disaster management. Phase 2 was surveying competencies of public health professionals in the local government for preparedness in preparation for developing the model. The sample composed of 189 public health professionals from local government organizations. They were recruited using purposive and stratified simple random sampling from local governments in all four regions of Thailand. In Phase 3 the model was evaluated to help further enhance competencies of public health professionals in local governments for preparedness and management of flood disasters. Data were collected by questionnaires, and results were confirmed by experts using the Delphi technique. The data were analyzed making use of Exploratory Factor Analysis (EFA) technique, logistic regression, median, and inter-quartile range. The findings were as follows. At the start of the project, more than 80% of public health professionals in local governments had competencies for preparedness and management of flood disasters at either a moderate or a low level. It was found that educational institutions have a very low level of curriculum content related to disaster management. In analyzing competencies of public health professionals in local governments for preparedness and management of the flood disasters, there were six components, defined by 50 variables. The components were: (1) Competencies related to public health system management, care of the community and recovery/ rehabilitation; (2) Competencies related to coordination, communication and solving unexpected problems; (3) Competencies related to planning, preparing personnel, community and volunteers to be ready for responding to a disaster; (4) Competencies related to assessing the situation and to the identification of solutions in responding to the disaster; (5) Competencies related to disaster risk reduction management, ethical practice and legal practice and (6) health surveillance competencies. These components were defined by 12, 12, 8, 6, 7 and 5 items, respectively. In fact, factor loading for all components are higher than 0.5 except for the fifth and sixth components. Finally, the study found that work experiences in flood evacuation drills as well as rehabilitation are the main factors used for the prediction of overall performance (R2 0.555). The model for competencies development for public health professionals that was developed during this study has three interrelated delivery modalities, as follows: The first modality was self-study, in which public health professionals developed competencies by themselves. The second modality was if the local government played a role in developing a public health professional’s competencies. The third modality was if the public health professional’s competencies were developed by educational institutions. The methods for competencies development were short-course programs for drills or workshops, on-the-job training, seminars, assignment of tasks and exercises, job rotations, knowledge management, self-study, and observing activities. (IQR < 1.5) In conclusion, the study found that in order to increase the competencies and confidence in handling flood disasters by public health professionals, stronger cooperation between local government organizations, educational institutions and public health professionals is needed. This could lead to fewer negative impacts and better outcomes for the public in case a flood disaster strikes.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineสาธารณสุขศาสตร์
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.69 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น