กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6636
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorยุวดี รอดจากภัย
dc.contributor.advisorนิภา มหารัชพงศ์
dc.contributor.authorสุมนรัตน์ นีรพัฒนกุล
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:12:20Z
dc.date.available2023-05-12T03:12:20Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6636
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง จังหวัดชลบุรี เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง จำนวน 383 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยแบ่งตามขนาดอำเภอจากผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนรักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและทดสอบค่าไคสแควร์ (Chi-Square Test) ผลการศึกษาพบว่า พบว่าปัจจัยส่วนบุคคลด้านการมีผู้ช่วยเหลือดูแลด้านสุขภาพ, การเข้าถึงบริการในระบบสุขภาพ และการมีกำลังใจและการให้คำแนะนำกระตุ้นเตือนการปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดอย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.042 ,0.014 และ0.047 ตามลำดับ) ส่วนปัจจัยความแตกต่างด้านเพศ, อายุ, การศึกษา, สถานภาพสมรส และการอยู่กับบุคคลในครอบครัว ไม่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และยังพบว่าปัจจัยด้านความรู้ กลุ่มตัวอย่างไม่ทราบวิธีสังเกตอาการไม่ทราบสาเหตุของปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ไม่ทราบวิธีปฏิบัติหากอยู่คนเดียวในขณะเกิดอาการเจ็บหน้าอกและไม่ทราบสิ่งที่ไม่ใช่ ข้อควรปฏิบัติในการป้องกันการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน คิดเป็นร้อยละ 49.3, 42.3, 41.5 และ 41.0 ตามลำดับ การศึกษาครั้งนี้ เสนอแนะควรมีการให้ความรู้และพัฒนารูปแบบการฝึกทักษะการป้องกัน การเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และครอบครัว หรือผู้ดูแล ให้ครอบคลุม การสังเกตอาการเตือน สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง และวิธีการช่วยเหลือตนเองเมื่อเกิดเหตุวิกฤติ รวมทั้งควรส่งเสริม สนับสนุนให้มีกิจกรรมการมีส่วนร่วมของแรงสนับสนุนทางสังคม ในการให้กำลังใจ สื่อสารข้อมูลการปฏิบัติตนด้านสุขภาพที่เหมาะสม ทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน ทีมบุคลากรด้านสุขภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มอาสามัครสาธารณสุขที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ครอบคลุมในวงกว้าง
dc.language.isoth
dc.publisherคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectหัวใจ -- โรค
dc.subjectหัวใจ -- การป้องกันและควบคุม
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง จังหวัดชลบุรี
dc.title.alternativeFctorsssocitedwithcute coronry syndrome prevention behvior in dibetes nd hypertension ptients in chonburi province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe relevant factors that associated with Acute Coronary Syndrome prevention behavior in Diabetes and Hypertension patients in Chonburi were cross-sectional studied. Three hundred and eighty three of target subjects were randomly by multistage sampling. The instrument used for collecting data is questionnaire that consists of personal factors ,Predisposing factors , Enabling factors and Reinforcing factors. Gathered information from diabetic and hypertensive patients who registered to the Health Promotion Hospital in the area and data are statistically analyzed by descriptive analysis and chi-square test. The results indicated that personal factors (associate with personal health assistant), accession to health services and self-encouragement to take good care of one’s health were statistically significant correlated with the prevalence of ischemic heart disease (p=0.42, 0.014 and 0.047) respectively. No statistical different between gender, age, education history, marital status, reside with family members and patient’s right found statistically associated with the prevention behavior of acute ischemic heart disease. This study also found that knowledge of how to indicate warning signs of acute ischemic heart disease, knowing the Risks Factors of acute ischemic heart disease, knowing how to cope with chest pain when staying alone, and knowledge of do and don’t practice to prevent acute ischemic heart disease were 49.3, 42.3, 41.5 and 41.0 percent, respectively. Suggestions further educational and skills training for prevention of acute coronary syndromes in Diabetic patients, Hypertension patients and their families’ members should be deployed. The coverage of warning signs observation, knowing of risk factors, and Cardiac Emergency Response should be concerned. Activities should also be deployed to encourage ช social participation. Families, communities and healthcare volunteer team should be regularly communicated and informed with suitable healthcare practice to achieve prevention behavior culture in communities.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการสร้างเสริมสุขภาพ
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น