กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6629
ชื่อเรื่อง: การประยุกต์ใช้โปรแกรม Behavior based safety เพื่อพัฒนาทัศนคติความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานขับรถพยาบาลในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจังหวัดระยอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Appliction of behvior bsed sfety progrm to improve sfety ttitude mong mbulnce driviers of ryong provincil hospitls, ministry of public helth
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปรีณา มีประดิษฐ์
อนามัย เทศกะทึก
ดุษฎี วรรณาหาร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: โรงพยาบาล -- พนักงาน
พนักงานขับรถ -- การพัฒนา
พนักงาน -- การทำงาน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของพนักงานขับรถพยาบาล ในโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุขของจังหวัดระยอง และเพื่อเปรียบเทียบทัศนคติของพนักงานขับรถพยาบาล ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขของจังหวัดระยอง ก่อน-หลังการประยุกต์ใช้โปรแกรม Behavior Based Safety เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง 1 กลุ่ม (Quasi experiment one group) กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานขับรถพยาบาล จำนวน 65 คน ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขของจังหวัดระยอง โดยประยุกต์ใช้โปรแกรม Behavior Based Safety เพื่อสร้างทัศนคติความปลอดภัย โดยระยะเวลาในการดำเนินการโปรแกรม Behavior Based Safety ทั้งหมด 8 สัปดาห์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบสังเกตพฤติกรรม ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ยเท่ากับ 38.70 ปี (SD =7.89) ระดับการศึกษาร้อยละ 33.80 อยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พนักงานขับรถพยาบาลที่ไม่เคยประสบอุบัติเหตุจากการขับรถพยาบาล ร้อยละ 84.60 ขับรถพยาบาลปฏิบัติงาน 2 เวร ต่อ 1 วัน ร้อยละ 53.80 และพนักงานขับรถพยาบาลทั้งหมดขับทั้งรถ EMS และรถ Refer ผลการประเมินทัศนคติความปลอดภัยพบว่า ก่อนประยุกต์ใช้โปรแกรม Behavior Based Safety พนักงานขับรถพยาบาลมีทัศนคติความปลอดภัยสูง และหลังประยุกต์ใช้โปรแกรม Behavior Based Safety พนักงานขับรถพยาบาลมีทัศนคติความปลอดภัยสูงขึ้น ในส่วนการประเมินพฤติกรรมความปลอดภัย พบว่า พนักงานขับรถพยาบาลมีพฤติกรรมเสี่ยงลดลง และเมื่อเปรียบเทียบผลการประเมินทัศนคติ ก่อน-หลังประยุกต์ใช้โปรแกรม Behavior Based Safety พบว่ามีความแต่ต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.001 จากผลการศึกษาดังกล่าว โปรแกรม Behavior Based Safety สามารถสร้างทัศนคติความปลอดภัยในพนักงานขับรถพยาบาลที่เป็นกลุ่มตัวอย่างได้ โดยทำให้พนักงานขับรถพยาบาล มีทัศนคติหลังประยุกต์ใช้โปรแกรม Behavior Based Safety พนักงานขับรถพยาบาลมีทัศนคติความปลอดภัยดีขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6629
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.44 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น