กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6559
ชื่อเรื่อง: เรือ : ภูมิปัญญากับวิถีชีวิตพื้นบ้านและบทบาทในสังคมไทยภาคกลาง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Bots: locl wisdom reltions with folk life nd socil role in centrl region of thilnd
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์
บุญเลิศ ส่องสว่าง
ณัฐกานต์ เกาศล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาไทยศึกษา
เรือ
ภูมิปัญญาชาวบ้าน -- ไทย (ภาคกลาง)
ภูมิปัญญาชาวบ้าน -- แง่สังคมวิทยา
ภูมิปัญญาชาวบ้าน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการสร้างเรือ ศึกษาความสัมพันธ์ของเรือกับวิถีชีวิตพื้นบ้านภาคกลางและบทบาทของเรือที่เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสังคมไทยภาคกลางในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา 10 จังหวัด กลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบ่งเป็น กลุ่มผู้ให้ข้อมูลด้านการสร้างเรือ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลด้านการใช้เรือในชีวิตประจําวันและกลุ่มผู้ให้ข้อมูลบทบาทของเรือในปัจจุบัน เก็บข้อมลโดยใช้การสัมภาษณ์และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาด้วยวิธีการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ภูมิปัญญาชาวบ้านในการสร้างเรือจากเดิมเป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่นบรรพบุรุษถ่ายทอดให้กับลูกหลาน และจากการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรง เมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงไปภูมิปัญญาได้รับการถ่ายทอดอย่างเป็นระบบในสถาบันการศึกษา ผู้มีความรู้ในการต่อเรือไม้และประกอบอาชีพต่อเรือไม้มีจํานวนน้อย เรือถูกพัฒนาให้ตรงตามวัตถุประสงค์ การใช้งานมากขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงด้านวัสดุและเทคโนโลยีที่นํามาใช้กับเรือ ความสัมพันธ์ของเรือกับวิถีชีวิตพื้นบ้านในอดีต เรือมีความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจเป็นพาหนะในการคมนาคม ขนส่งสินค้าไปค้าขายกับต่างประเทศ เรือมีความสัมพันธ์ด้านการเมือง การปกครอง เรือมีความสัมพันธ์ ด้านคติความเชื่อและศาสนา เนื่องจากชาวบ้านมีความเชื่อในเรื่องแม่ย่านางเรือ เรือมีความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมประเพณีทั้งประเพณีราษฎร์และประเพณีหลวง บทบาทของเรือที่เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสังคม ปัจจุบันเรือมีบทบาทด้านสังคม และวิถีชีวิตเนื่องจากชาวบ้านยังคงใช้เรือเป็นพาหนะในการเดินทางในชีวิตประจําวัน เรือมีบทบาท ด้านเศรษฐกิจเป็นเครื่องมือประกอบอาชีพทําการประมงพื้นบ้าน ขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักมากและมีส่วนช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจระดับชุมชน เรือมีบทบาทด้านวัฒนธรรมประเพณี คือ ประเพณีการแข่งเรือยาวและประเพณีการเสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐินทางชลมารค เรือมีบทบาท ด้านการท่องเที่ยวคือ ตลาดน้ำการท่องเที่ยวทางเรือ การล่องเรือทานอาหาร
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6559
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf6.69 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น