กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6551
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เขมารดี มาสิงบุญ | |
dc.contributor.advisor | สุภาภรณ์ ด้วงแพง | |
dc.contributor.author | เสาวนีย์ กระแจะจันทร์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:01:48Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:01:48Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6551 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การจัดการตนเองที่ดีของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-3 จะช่วยชะลอการเสื่อมของไต และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งการที่ผู้ป่วยจะมีพฤติกรรมการจัดการตนเองที่ดี มีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายประการการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะสุขภาพ ระยะเวลาการเจ็บป่วยความรู้เกี่ยวกับการจัดการตนเอง การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-3 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-3 ที่มารับการตรวจรักษาตามแพทย์นัดที่แผนกผู้ป่วยนอก คลินิกโรคไต โรงพยาบาลตราด จำนวน 96 รายคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้การสุ่มอย่างง่ายแบบไม่ใส่คืน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบประเมินพฤติกรรมการจัดการตนเองแบบประเมินการรับรู้ ภาวะสุขภาพ SF-12 แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับการจัดการตนเองแบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และแบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีพฤติกรรมการจัดการตนเองอยู่ในระดับต่ำ โดยการรับรู้ภาวะสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพัน์กับพฤติกรรมการจัดการตนเองในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .406, r= .316, r= .498 ตามลำดับ) ส่วนระยะเวลาการเจ็บป่วยและความรู้เกี่ยวกับการจัดการตนเองไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการตนเอง ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรทางด้านสุขภาพควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-3 มีการรับรู้ภาวะสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนและได้รับการสนับสนุนทางสังคมอย่างเพียงพอ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อระยะที่ 1-3 มีสามารถการจัดการตนเองได้เหมาะสม | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | โรคไต -- ผู้ป่วย -- การดูแล | |
dc.subject | โรคไต | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ | |
dc.title | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-3 จังหวัดตราด | |
dc.title.alternative | Fctors ssocited with selfmngement behviors mong ptients with chronic kidney disese stge 1-3 in trt province | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | Good self-management of patients with chronic kidney disease stage 1-3 helps to slow the deterioration of the kidney and prevent complications. There are several factors that contribute to self-management behaviors of the patients. This descriptive correlational study is aimed to investigate the relationship between self-management behaviors and health perception, illness duration, self-management knowledge, perceived self-efficacy and social support among patients with chronic kidney disease stage 1-3. Ninety six chronic kidney disease stage 1-3 patients were randomly selected from a chronic kidney outpatient department of Trat hospital to participate in the study. Data were collected by self-report questionnaires including Personal Data Questionnaire, Self-management Behavior Scale, Health Perception Scale (SF-12), Self-Management Knowledge Scale, Perceived Self-efficacy Scale and Social Support Scale. Data were analyzed using Pearson’s product moment correlation coefficients. The results revealed that the participants reported their self-management behaviors at a low level. Health perception, perceived self-efficacy and social support were significantly related to self-management behavior at moderate level (r= .406, r= .316, r= .498, p< .05 respectively). Illness duration and self-management knowledge were not related to self-management behaviors. The results of this study suggest that nurses and health care providers should provide interventions for patients with the chronic kidney disease stage 1-3 to have good health perception, high perceived self-efficacy and high support to improve the self-management behaviors among patients. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การพยาบาลผู้ใหญ่ | |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.3 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น