กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6546
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorเขมารดี มาสิงบุญ
dc.contributor.advisorนิภาวรรณ สามารถกิจ
dc.contributor.authorนลิณี เชยกลิ่นพุฒ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:01:47Z
dc.date.available2023-05-12T03:01:47Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6546
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractพฤติกรรมบริโภคอาหารที่ถูกต้องภายหลังตัดถุงน้ำดีจะช่วยลดโอกาสเกิดอาการและภาวะแทรกซ้อนภายหลังตัดถุงน้ำดีได้การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างอายุ เพศ การรับรู้ความเจ็บป่วย อาการภายหลังตัดถุงน้ำดีและความรู้เรื่องอาหารเฉพาะโรคกับพฤติกรรมบริโภค ภายหลังตัดถุงน้ำดีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยถุงน้ำดีอักเสบที่ได้รับการผ่าตัดถุงน้ำดีแบบส่องกล้องหรือผ่าตัดทางหน้าท้อง ซึ่งเข้ารับการรักษา ณ แผนกศัลยกรรมในโรงพยาบาลชลบุรี และโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา จำนวน 82 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนดและสุ่มตัวอย่าง โดยใชวิธีการกำหนด ระยะเวลาเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมลู ส่วนบุคคลแบบสอบถามการรับรู้ความเจ็บป่วยแบบสัมภาษณ์อาการภายหลังตัดถุงน้ำดี แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมบริโภคภายหลังตัดถุงน้ำดีที่มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .91, .79 และ .79 ตามลำดับ และแบบสัมภาษณ์ความรู้เรื่องอาหารเฉพาะโรคที่มีค่า KR-20 เท่ากับ .78 วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติพรรณนา สถิติสัม ประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียลและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 75.6 มีอายุเฉลี่ย 42.79 ปี (SD = 12.43) ร้อยละ 76.8 มีอาการภายหลังตัดถุงน้ำดีมีการรับรู้การรบกวนการดำเนินชีวิตประวันของอาการภายหลังตัดถุงน้ำดี โดยรวมในระดับน้อย (M = 2.91, SD = 0.17) มีการรับรู้ความเจ็บป่วยด้านลบในระดับปานกลาง (M = 91.3, SD = 14.90) มีความรู้เรื่องอาหารเฉพาะโรคอยู่ในระดับสูง (M = 14.09, SD = 1.9) และมีพฤติกรรมบริโภค ภายหลังตัดถุงน้ำดีในระดับดี (M = 47.72, SD = 9.1) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า อายุ เพศ และความรู้ เรื่องอาหารเฉพาะโรคมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับพฤติกรรมบริโภคภายหลังตัดถุงน้ำดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r= .43, rrb = .34 และ r= .41 ตามลำดับ) การรับรู้ความเจ็บป่วยมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับพฤติกรรมบริโภคภายหลังตัดถุงน้ำดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .27) ส่วนอาการภายหลังตัดถุงน้ำดีมีความสัมพันธ์ทางลบระดับสูงกับพฤติกรรมบริโภคภายหลังตัดถุงน้ำดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r= -.6) ผลจากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำ ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ที่ได้รับการตัดถุงน้ำดี เพื่อลดผลกระทบของอาการภายหลังตัดถุงน้ำดี โดยพยาบาลควรมีการติดตามอาการภายหลังตัดถุงน้ำดีและพฤติกรรมบริโภคภายหลังตัดถุงน้ำดี เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมบริโภคที่เหมาะสมนำมาสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectถุงน้ำดี
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่
dc.subjectถุงน้ำ -- โรค -- การรักษา
dc.subjectถุงน้ำดี -- โรค
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมบริโภคภายหลังตัดถุงน้ำดีในผู้ป่วยถุงน้ำดีอักเสบ
dc.title.alternativeFctors relted to eting behvior fter cholecystectomy mong ptients with cholecystitis
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeEating behavioral after cholecystectomy appropriate is helping in reduce the incidence of symptoms and complication after cholecystectomy. This descriptive correlational research design, aim to evaluate the relationships among age, gender, postcholecystecyomy syndromes, illness perceptions, knowledge about specific food disease and eating behavior after cholecystectomy in patients with cholecystitis. Eighty- two patients with cholecystitis undergoing laparoscopic cholecystectomy or open cholecystectomy were recruited by inclusion criteria from the surgery department of Chonburi Hospital and Queen Savang Vadhana Memorial Hospital during July to December, 2016. Using The Demographic Questionnaire, The Revised Illness Perception Questionnaire (IPQ-R), The Postcholecystectomy Syndrome Questionnaire, The Eating Behavior After Cholecystectomy Questionnaire with its reliability of .89, .79 and .78 respectively and The Knowledge AboutSpecific Food Disease Questionnaire with its reliability of .77. Data were analyzed using descriptive statistics, Point-biserial correlation coefficient and Pearson’s product moment correlation coefficient. The result showed that 75.6 % were females with the average age 42.79 years. The samples had 76.8% of postcholecystectomy syndrome and mild level of disturb daily life of postcholecystectomy syndrome (M = 2.91, SD = 0.17), moderate level of illness perception (M = 91.3, SD = 14.90), high level of knowledge about specific food disease (M = 14.09, SD = 1.9) and had high level of eating behavior after cholecystectomy (M = 47.72, SD = 9.1). The result also that moderate positive relationships between age, gender, knowledge about specific food disease and eating behavior after cholecystectomy (r= .43, rrb= .34 and r= .41, p< .01 respectively) and illness perception was significantly mild positive relationship with eating behavior after cholecystectomy (r= .27, p< .05) while postcholecystectomy syndrome was high negative significantly relationship with eating behavior after cholecystectomy (r= - .6, p< .01) The results of this study could be used for improving quality of care in patientsundergoing cholecystectomy to decrease effects of postcholecystectomy syndrome, moreover nurse should follow up to postcholecystectomy syndrome and eating behavior after cholecystectomy. This will assist these patients to have more appropriate food eating behavior leading to quality of life
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการพยาบาลผู้ใหญ่
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf5.16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น