กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6543
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พรนภา หอมสินธุ์ | |
dc.contributor.advisor | รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์ | |
dc.contributor.author | สุรีรัตน์ เวียงกมล | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:01:47Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:01:47Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6543 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การสูบบุหรี่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มวัยรุ่นยังเป็นปัญหาที่สำคัญของสังคมไทย เนื่องจากมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นและเริ่มต้นสูบที่อายุลดลง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของการสูบบุหรี่ ต้นทุนชีวิตและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ในระยะแรกของนักเรียนชายชั้นประถมศึกษาตอนปลายกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ นักเรียนชายชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวนทั้งหมด 390 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Binary logistic regression ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความชุกของการสูบบุหรี่ในระยะแรกร้อยละ 43.0 สำหรับต้นทุนชีวิตซึ่งประกอบด้วยพลัง 5 ด้าน ได้แก่ พลังตัวตน พลังครอบครัว พลังสร้างปัญญา พลังเพื่อนและกิจกรรม และพลังชุมชน กลุ่มตัวอย่างมีต้นทุนชีวิตในภาพรวมอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 73.5) เมื่อพิจารณาต้นทุนชีวิตตามพลังด้านต่าง ๆ ทั้ง 5 ด้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีต้นทุนชีวิต ด้านพลังครอบครัวและพลังตัวตนอยู่ในระดับดีมาก (ร้อยละ 84.5 และร้อยละ 83.3 ตามลำดับ) พลังเพื่อนและกิจกรรมอยู่ในระดับดี (ร้อยละ72.5) พลังชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 68.9) และพลังสร้างปัญญาอยู่ในระดับไม่ผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 58.1) และพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ในระยะแรกอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ได้แก่ การสูบบุหรี่ของบุคคลใกล้ชิด (AOR = 3.37, 95% CI = 1.09-10.44) การเข้าถึงบุหรี่ (AOR = 2.86, 95% CI =1.75-4.68) ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ (AOR = 2.75, 95% CI = 1.09-6.95) การรับรู้ความสามารถของตนเอง ในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ (AOR = 2.47, 95% CI = 1.52-4.01) พลังครอบครัว (AOR = 1.94, 95% CI = 1.18-3.18) พลังเพื่อนและกิจกรรม (AOR = 1.42, 95% CI = 1.17-1.74) พลังตัวตน (AOR = 1.24, 95% CI = 1.04-1.48) และพลังชุมชน (AOR = 1.15, 95% CI = 1.03-1.30) ผลการวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อพยาบาล บุคลากรสุขภาพ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการหาแนวทางป้องกันการเริ่มต้นสูบบุหรี่ในวัยรุ่นตอนต้นชายต่อไป | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | การสูบบุหรี่ -- กาฬสินธุ์ | |
dc.subject | การสูบบุหรี่ | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลปฎิบัติชุมชน | |
dc.title | ต้นทุนชีวิตและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ระยะแรกของนักเรียนชายชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดกาฬสินธุ์ | |
dc.title.alternative | Life ssets nd fctors relted to erly smoking stge mong mle upper primry school students, klsin province | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | Smoking especially among adolescents is an important problem in Thai society. since, its prevalence is increasing and age of starting is decreasing. The purposes of this study research were to describe the prevalence of smoking in early stage, life assets, and factors related to early smoking stage among male upper primary school students. A cluster random was used to draw 390 representative sample who were male grade 6 students in Kalasin province. Data were analyzed using descriptive statistics and Binary logistic regression. Findings of the study showed that the prevalence of early smoking stage was 43.0%. Life assets include 5 power; power of self, power of family, power of wisdom, power of peer and activity, and power of community. The overall participants life assets was at good level (73.5%). Among those 5 powers of participants, power of family and power of self were at very good levels (84.5% and 83.3% respectively); power of peer and activity was at good level (72.5%); power of community was at moderate level (68.9%); and power of wisdom was not passing criteria. The significant factors related to early smoking stage among male upper primary school students were closed people smoking (AOR = 3.37, 95% CI = 1.09-10.44), cigarette accessibility (AOR = 2.86, 95% CI = 1.75-4.68), attitude toward smoking (AOR = 2.75, 95% CI = 1.09-6.95), smoking refusal self-efficacy (AOR = 2.47, 95% CI = 1.52-4.01), power of family (AOR = 1.94, 95% CI=1.18-3.18), power of peer and activity (AOR = 1.42, 95% CI = 1.17-1.74), power of self (AOR = 1.24, 95% CI = 1.04-1.48), and power of community (AOR = 1.15, 95% CI = 1.03-1.30). Results of study will be beneficial to nurse, health personnel, and those who are involved to prevent and reduce smoking initiation among male adolescents. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การพยาบาลปฎิบัติชุมชน | |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.16 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น