กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6539
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลิกสูบบุหรี่ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังชาย จังหวัดตราด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Fctors relted to smoking cesstion mong mle ptients with chronic diseses in trt province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมสมัย รัตนกรีฑากุล รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์ อรพินท์ ขันแข็ง มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรคเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -- การดูแล มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลปฎิบัติชุมชน |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สูบบุหรี่ เป็นกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต การส่งเสริมให้ผู้ป่วยเลิกสูบเป็นวิธีหนึ่งที่สําคัญในการลดภาวะแทรกซ้อน และลดการตายของผู้ป่วยได้การวิจัยนี้เป็นแบบการศึกษาจากผลมาหาเหตุ (Case-control study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลิกสูบบุหรี่ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังชาย จังหวัดตราด โดยใช้กรอบแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูงหรือผู้ป่วยโรคเบาหวานเพศชายที่สูบบุหรี่และขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยโรค เรื้อรัง ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล แม่ข่ายในจังหวัดตราด จํานวน 230 คน ใช้วิธีการจับคู่ เพื่อแบ่งเป็นกลุ่มศึกษา คือ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เลิกสูบบุหรี่ จํานวน 115 คน และ กลุ่มควบคุม คือ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ยังไม่เลิกสูบบุหรี่ จํานวน 115 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลทโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยไบนารี่ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 50.0 มีการเลิกสูบบุหรี่นาน 6 เดือนขึ้นไป ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลิกสูบบุหรี่ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ได้แก่ การรับรู้ความสามารถตนเองในการเลิกสูบบุหรี่และการได้รับการสนับสนุนเลิกสูบบุหรี่ โดยคะแนนการรับรู้ความสามารถตนเองในการเลิกสูบบุหรี่ที่เพิ่มขึ้น 1 คะแนน จะมีโอกาส เลิกสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นเป็น 1.29 เท่า (OR = 1.29, 95% CI =1.17-1.43) และคะแนน การได้รับ การสนับสนุนเลิกสูบบุหรี่ที่เพิ่มขึ้น 1 คะแนน โอกาสเลิกสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นเป็น 1.11 เท่า (OR = 1.11, 95% CI = 1.05-1.17) ผลการวิจัยนี้ให้ข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคคลากรทางการแพทย์สามารถนําไปใช้ เป็นแนวทางในการพัฒนาโปรแกรมการเลิกสูบบุหรี่ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยส่งเสริมการรับรู้ ความสามารถตนเองในการเลิกสูบบุหรี่ และกระตุ้นให้บุคคลในครอบครัวสนับสนุนให้ผู้ป่วย โรคเรื้อรังเลิกสูบบุหรี่ได้สําเร็จ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6539 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.09 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น