กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6537
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorวรรณี เดียวอิศเรศ
dc.contributor.advisorจินตนา วัชรสินธุ์
dc.contributor.authorวิวรรณา คล้ายคลึง
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:01:45Z
dc.date.available2023-05-12T03:01:45Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6537
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractความจำเป็นทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้ย่า/ยาย ต้องรับผิดชอบทำบทบาทเลี้ยงดูหลาน หลักแทนพ่อ/ แม่เพิ่มมากขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดในการทำบทบาทแม่ของย่า /ยายที่เลี้ยงดูหลาน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการทำบทบาท แม่ของย่า /ยายที่เลี้ยงดูหลานวัยขวบปีแรกกลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบหลายขั้นตอน คือย่า /ยายที่ทำ บทบาทหลักแทนพ่อ แม่เป็นผู้เลี้ยงดูหลานวัยขวบปีแรกเป็นระยะเวลา 1 เดือนขึ้นไป ในจังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดสกลนคร จำนวน 100 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบสอบถามความเครียดในการทำบทบาทแม่ของย่า /ยายที่เลี้ยงดูหลาน แบบสอบถามความรู้สึกเป็นภาระในการดูแลแบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าต่อตนเองในการทำบทบาท และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ย่า/ยายที่เลี้ยงดูหลานวัยขวบปีแรก มีความเครียดในภาพรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 36.00 (n=36) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความเครียดในการทำบทบาทแม่ของย่า /ยายที่เลี้ยงดูหลาน ได้แก่ ความรู้สึกเป็นภาระด้านการเงิน (r=.249, p< .01) และการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว (r = -.314, p < .05) ความรู้สึกเป็นภาระด้านกิจวัตรประจำวัน (r =.306, p<.01) และความรู้สึกเป็น ภาระด้านสุขภาพ (r=.350, p < .01) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความเครียดในการทำบทบาทแม่ของย่า /ยายที่เลี้ยงดูหลาน ได้แก่ ความรู้สึกมีคุณค่าต่อตนเองในการทำบทบาท (r = -.266, p < .01) และการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว (r = -.314, p < .01) ผลการวิจัยครั้งนี้ให้ข้อเสนอแนะว่า พยาบาลที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการดูแลย่า /ยายที่เลี้ยงดูหลาน ควรมีการประเมินความเครียดในการทำบทบาทของย่า /ยายอย่างต่อเนื่อง และให้การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคมและลดภาระด้านต่าง ๆ ให้แก่ย่า/ยาย
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectความเครียด (จิตวิทยา)
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฎิบัติครอบครัว
dc.subjectความเครียดในผู้สูงอายุ -- ไทย
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการทำบทบาทแม่ของย่า
dc.title.alternativeFctors ssocited with grndprenting stress mong grndmothers rising their infnt grndchildren
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeContemporary economical changes have created increased roles of grandparents as primary caregivers of grandchildren. The objectives of this study were to examine level of grandparenting stress and factors associated with grandparenting stress among grandmothers who raised their infant grandchildren. A multi-staged random sampling was used to recruit a sample of 100 grandmothers who were primary caregivers of their infant grandchildren of at least 1 month in Ubon Ratchathani province, Roi-ed province, and Sakolnakorn province. Research instruments included the Parenting Stress Index Short Form, the Caregiver Burden Questionnaires, the Self-esteem Questionnaire, and the Social Support Questionnaire. Data were analyzed by using descriptive statistics and Pearson product moment correlation coefficients. The results showed that 36% of grandmothers (n=36) reported high level of grandparenting stress. Factors that had significant positive relationships with grandparenting stress were caregiving burden in the aspect of financial (r=.249, p< .01) and health (r=.350, p < .01). Self-esteem and family social support were also found to have significant negative relationships with grandparenting stress (r = -.266, p < .01; r = -.314, p < .01 respectively). These findings suggest that nurses should monitor and assess stress level of grandparents who were primary caregivers of grandchildren and provide appropriate interventions by focusing on promoting social support and decreasing caregiver burden.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการพยาบาลเวชปฎิบัติครอบครัว
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.65 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น