กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6535
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorชนัดดา แนบเกษร
dc.contributor.advisorดวงใจ วัฒนสินธุ์
dc.contributor.authorมุกดาวรรณ ผลพานิช
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:01:45Z
dc.date.available2023-05-12T03:01:45Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6535
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ เป็นปัญหาที่สำคัญของระบบสุขภาพในประเทศไทยและทั่วโลก ภาวะซึมเศร้าหากรุนแรงอาจนำไปสู่โรคซึมเศร้าและเป็นสาเหตุสำคัญของการฆ่าตัวตาย การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบ กลุ่มต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ ในชุมชน ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 24 คน สุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่ม จำนวน 8 ครั้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และแบบสอบถาม ภาวะซึมเศร้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบวัดซ้ า และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของบอนเฟอโรนี ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและคะแนนเฉลี่ย ภาวะซึมเศร้า แตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < .001 ทั้งในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และระยะติดตามผล 1 เดือน กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้า ในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีและระยะติดตามผล 1 เดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < .001 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่มสามารถเสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและลดภาวะซึมเศร้าให้กับผู้สูงอายุในชุมชน พยาบาลและบุคลากรทางด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้อง สามารถประยุกต์ใช้โปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่มนี้ เพื่อเสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและลดภาวะซึมเศร้าให้กับผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าในชุมชน และประยุกต์ใช้กับผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าในที่อื่น ๆ ต่อไป
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectผู้สูงอายุ -- การดูแล
dc.subjectผู้สูงอายุ
dc.subjectความซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
dc.titleผลของโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่มต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชุมชน
dc.title.alternativeThe effects of group cognitive-behviorl modifiction on self-esteem nd depression of community-dwelling older dults
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeDepression in older adults is a significant problem in Thailand and in the world. Depressive symptoms if deteriorated, it can progress to be depressive disorders and significant cause of suicide. The purpose of this quasi-experimental study was to examine the effects of cognitivebehavioral group therapy on self-esteem and depression among community-dwelling older adults. The sample included twenty-four community-dwelling older adults who met the inclusion criteria. The participants were randomly assigned into the experimental (n= 12) and the control (n= 12) groups. The experimental group received group cognitive modification program for 8 sessions, two sessions per week and each session took about 60 to 90 minutes. Where as those in the control group received only routine nursing care. The Self-esteem Inventory and Beck Depression Inventory were used to collect data at pre-post tests and one month follow-up. Descriptive statistics, independent t-test, two-way repeated measures ANOVA and pairwise comparisons using Bonferroni’s method were employed to analyze the data. The results showed significant difference for the mean scores of self-esteem anddepression between the experimental and control groups at post-test and 1-month follow-up (p< .001). In the experimental group, the mean scores of self-esteem and depression at pre-test, post-test and 1-month follow-up were significantly different (p < .001). From the results, it showed that this group cognitive-behavioral modification had significant effects on self-esteem and depression among community-dwelling older adults. Therefore, nurses and related health personnel could apply this program in order to enhance self-esteem and reduce depression among older adults with depression residing in community and other settings.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น