กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6534
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorนุจรี ไชยมงคล
dc.contributor.advisorดวงใจ วัฒนสินธุ์
dc.contributor.authorสุธิดา พลพิพัฒน์พงศ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:01:45Z
dc.date.available2023-05-12T03:01:45Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6534
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractวัยรุ่นอยู่ในวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่างในชีวิตทั้งด้านร่างกายจิตใจอารมณ์ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจส่งผลต่อการมีความคิดฆ่าตัวตายได้การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดฆ่าตัวตายในวัยรุ่นและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยเพศคุณลักษณะส่วนบุคคลและเหตุการณ์ความเครียดในชีวิต กลุ่มตัวอย่างคัดเลือก โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอนเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ของโรงเรียนระดับมัธยมแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง จำนวน 249 คน เก็บข้อมูลเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปแบบวัดความคิดฆ่าตัวตายแบบประเมินจุดแข็ง จุดอ่อน และแบบประเมินเหตุการณ์ความเครียดในชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การทดสอบไคสแคร์ และการวิเคราะห์ถดถอยไบนารี ผลการศึกษาพบว่า วัยรุ่นกลุ่มตัวอย่างมีความเสี่ยงสูงต่อการมีความคิดฆ่าตัวตาย (M = 7.08, SD = 4.91) กลุ่มตัวอย่างที่มีเหตุการณ์ความเครียดในชีวิต คือ มีปัญหากับนักเรียนอื่น หรือมีปัญหากับครู/อาจารย์มีโอกาสมีความคิดฆ่าตัวตายมากเป็น 3.7 เท่าของผู้ที่ไม่มีปัญหากับนักเรียนอื่น (OR = 3.65, CI =1.53-8.73) และ 2.2 เท่าของผู้ที่ไม่มีปัญหากับครู/อาจารย์ (OR = 2.21, CI = 1.15-4.23) และผู้ที่มีคุณลักษณะของพฤติกรรมที่เป็นปัญหามีโอกาสมีความคิดฆ่าตัวตายมากเป็น 2.4 เท่าของผู้ที่ไม่มีพฤติกรรมที่เป็นปัญหา (OR = 2.36, CI = 1.17-4.74) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า วัยรุ่นไม่ว่าเพศชายหรือหญิงมีความเสี่ยงสูงต่อการมีความคิดฆ่าตัวตายโดยเฉพาะในผู้ที่มีคุณลักษณะของพฤติกรรมที่เป็นปัญหาและมีปัญหากับนักเรียนอื่นหรือครู/อาจารย์ดังนั้น พยาบาลและผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพวัยรุ่น ควรนำผลการวิจัยนี้ไปใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนจัดกิจกรรมหรือโปรแกรม เพื่อส่งเสริม การมีพฤติกรรมสังคมทางบวกรวมทั้งสนับ สนุนการมีสัมพันธภาพที่เหมาะสมระหว่างเพื่อน นักเรียน และครู/อาจารย์เพื่อลด และป้องกันการมีความคิดฆ่าตัวตายในวัยรุ่น
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectวัยรุ่น -- การตาย
dc.subjectวัยหนุ่มสาว -- พฤติกรรมฆ่าตัวตาย
dc.subjectการฆ่าตัวตาย
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
dc.titleความคิดฆ่าตัวตายในวัยรุ่นและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
dc.title.alternativeSuicidl idetion in dolessents nd its ssocited fctors
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeAdolescence is an age with several life changing, including physical, mental, emotional, social and environmental changes, which could have an impact on suicidal ideation. The purpose of this predictive correlational study aimed to examine suicidal ideation among adolescents and its associated factors included gender, psychological attributes and stressful events. A multi-stage random sampling was used to recruit a sample of 249 adolescents who were currently studying in a secondary school in Rayong province. Data were carried out in May 2017. Research instruments contained a demographic questionnaire, the Suicidal Ideation Scale, the Strength and Difficulties questionnaire and the Negative Event Scale. Their Cronbach’s alpha reliabilities were. .83, .73, and .94, respectively. Descriptive statistics, Chi-square test and Binary logistic regression were used to analyze the data. The results revealed that the participants were high risk for suicidal ideation (M = 7.08, SD = 4.91). The participants with having stressful events in life of problem with other students or teachers/instructors were 3.7 times more likely to have suicidal ideation than those without problem with other students (OR = 3.65, CI =1.53-8.73) and 2.2 times more likely to have suicidal ideation than those without problem with teachers/instructors (OR = 2.21, CI = 1.15-4.23). Moreover, the participants with behavioral problem were 2.4 times more likely to have suicidal ideation than those without behavioral problem (OR = 2.36, CI = 1.17-4.74). These findings indicate that adolescents, no matter being a male or female, have high risk for suicidal ideation, especially ones who have behavioral problem, and have problems with other students or teachers/ instructors. Therefore, nurses and related personnel for adolescent health care could obtain these results to utilize for planning an activity or a program to promote positive social behavior as well as encourage appropriate relationships among other students and teachers/ instructors. Consequently, suicidal ideation in adolescents would be lessen and preventable.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น