กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6532
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorวรรณทนา ศุภสีมานนท์
dc.contributor.advisorสุพิศ ศิริอรุณรัตน์
dc.contributor.authorวราภรณ์ ปฎิสังข์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:01:44Z
dc.date.available2023-05-12T03:01:44Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6532
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractถ้าอารมณ์เศร้าหลังคลอดไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม อาจทำให้อาการรุนแรงกลายเป็นภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ การศึกษานี้เป็นการวิจจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนของครอบครัวต่ออารมณ์เศร้าในมารดาหลังคลอด กลุ่มตัวอย่าง เป็นมารดาที่มีอารมณ์เศร้าหลังคลอด มีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์คัดเข้าพักฟื้นหลังคลอดในหอผ้ป่วยสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ชลบุรี เลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบสะดวกจำนวน 60 ราย โดย 30 รายแรกเป็นกลุ่มควบคุม 30 รายหลัง เป็นกลุ่มทดลองกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติกลุ่มทดลองได้รับทั้งการพยาบาลตามปกติและโปรแกรม เครื่องมือรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของ มารดาหลังคลอดและครอบครัว และอารมณ์เศร้าหลังคลอดของ Kennerley แบบสอบถามอารมณ์ เศร้า มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเป็น .85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าพิสัยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Fisher exact, chi-square, Mann-Whitney U และ t-test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยอารมณ์เศร้าหลังคลอดหลังทดลองน้อยกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t 29= -5.87, p< .001) หลังทดลองกลุ่มทดลองมีสัดส่วนของผู้มีอารมณ์เศร้าหลังคลอดน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( 2 = -4.34, df= 1, p = .04; กลุ่มทดลอง: n= 9, กลุ่มควบคุม: n= 17) และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความแตกต่างของคะแนนอารมณ์เศร้าก่อนและหลังทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t 58= -2.57, p= .01)โดยกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยอารมณ์เศร้าหลังคลอดลดลง 15.23 คะแนน (SD = 14.22) ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยลดลง 6.50 คะแนน (SD = 11.97) จากผลการวิจัย พยาบาลที่ดูแลมารดาหลังคลอดควรคัดกรองหาอารมณ์เศร้าในมารดาหลังคลอด และประยุกต์โปรแกรมการให้ความรู้และสนับสนุนของครอบครัวไปใช้ในมารดาหลังคลอด เพื่อป้องกันหรือลดอารมณ์เศร้าในมารดาหลังคลอด
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมารดา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์ขั้นสูง
dc.subjectการคลอด
dc.subjectอารมณ์เศร้า
dc.titleผลของโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนของครอบครัวต่ออารมณ์เศร้าในมารดาหลังคลอด
dc.title.alternativeEffect of eduction nd fmily support progrm on mternity blues
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeIf maternity blues do not receive appropriate care, it might deteriorate into postpartum depression. This qausi-experimental with pre-pottest of two group study aimed to investigate effect of education and family support program on postpartum women with blues. Participants were 60 postpartum women with blues who met inclusion criteria and stayed in an obstetrical/gynecological in-patient department, Somdej Phranangchaosirikit Hospital, Chonburi province. They were selected by convenience sampling. The first 30 cases were in control group while the latter 30 were in experimental group. Control group received routine nursing care, experimental received both routine nursing care and the program. Data were collected by questionnaires of demographics and Kennerley’s Blues. Blues questionnaire had Cronbach’s alpha coefficient as .85. Data were analyzed by frequency, percentage, range, mean, standard deviation, Fisher-exact, chi-square, Mann-Whitney U, and t-tests Results revealed that experimental group had maternity blues mean score after experiment lesser than before experiment (t 29= -5.87, p< .001). After experiment, experimental group had lesser proportion of women with postpartum blues than control group ( 2 = -4.34, df= 1, p= .04; experimental: n= 9, control: n= 17). Experimental group had higher pre-posttest difference mean score than control group (t 58= -2.57, p= .01) for which experimental group had decreased blues mean score as 15.23 (SD = 14.22), control group had decreased mean score as 6.50 (SD = 11.97). Findings recommend that nurses responsible to care for postpartum women would screen for maternity blues. Also, they would apply education and family support program to take care of postpartum women in order to prevent or decrease maternity blues.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการผดุงครรภ์ขั้นสูง
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น