กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6529
ชื่อเรื่อง: | ผลของโปรแกรมการเตรียมครอบครัวเพื่อสนับสนุนการคลอดต่อการรับรู้ความสามารถของครอบครัวในการสนับสนุนการคลอดและความพึงพอใจของผู้คลอดในการสนับสนุนการคลอดของครอบครัว |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effects of the fmily preprtion for lbour support progrm on fmilies’ perceived self-efficcy in their lbour support nd prturients’ stisfction with their fmily’s lbour support |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พิริยา ศุภศรี วรรณทนา ศุภสีมานนท์ รุ่งนภา มหิทธิ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์ขั้นสูง การคลอด การคลอด -- การดูแล |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การคลอดเป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้ผู้คลอดมีความวิตกกังวลและความกลัวการสนับสนุน การคลอดจึงมีความสำคัญ การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเตรียมครอบครัวเพื่อสนับสนุนการคลอดต่อการรับรู้ความสามารถของครอบครัวในการสนับสนุน การคลอด และความพึงพอใจของผู้คลอดในการสนับสนุนการคลอด กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบสะดวก คือหญิงตั้งครรภ์และครอบครัวที่มารับบริการฝากครรภ์และคลอดในโรงพยาบาลพุทธโสธร จำนวน 64 คู่สุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มควบคุม จำนวน 32 คู่ได้รับการพยาบาลตามปกติและกลุ่มทดลอง จำนวน 32 คู่ได้รับโปรแกรมเตรียมครอบครัวเพื่อสนับสนุนการคลอดร่วมกับการพยาบาลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2559 เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วยโปรแกรมการเตรียมครอบครัวเพื่อสนับสนุนการคลอด แบบบันทึกข้อ มูลทั่วไป แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของครอบครัวในการสนับสนุนการคลอด และแบบสอบถาม ความพึงพอใจของผู้คลอดต่อการสนับสนุนการคลอด มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94 และ .92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที ผลการวิจัย พบว่าครอบครัวในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการเตรียมครอบครัวเพื่อสนับสนุนการคลอด มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองในการสนับสนุนการคลอดสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t 31= 5.44, p < .01 และ t 62 = -4.99, p = < .01 ตามลำดับ) และผู้คลอดในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการสนับสนุนการคลอดสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(t62= -2.07, p = .04) ผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการเตรียมครอบครัวเพื่อสนับสนุนการคลอดนี้มีประสิทธิภาพ พยาบาลห้องคลอดควรนำโปรแกรมนี้ใช้ในการปฏิบัติการผดุงครรภ์เพื่อผลลัพธ์ทางบวกต่อผู้คลอดและครอบครัว |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6529 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.35 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น