กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6528
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorวารี กังใจ
dc.contributor.advisorสหัทยา รัตนจรณะ
dc.contributor.authorขวัญชนก ยศคำลือ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:01:44Z
dc.date.available2023-05-12T03:01:44Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6528
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractข้าราชการครูที่เข้าสู่การเปลี่ยนผ่านในช่วงการเกษียณอายุราชการจะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิญญาณ และเศรษฐกิจ ซึ่งถือว่าเป็นภาวะวิกฤต ในชีวิต การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของความผาสุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผาสุกในระยะเปลี่ยนผ่านของข้าราชการครูที่เกษียณอายุราชการ กลุ่มตัวอย่างคือ ข้าราชการครู ที่อยู่ในระยะเปลี่ยนผ่านของการเกษียณอายุราชการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดสระบุรี จำนวน 100 คน ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพ แบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง แบบสอบถามทัศนคติต่อการเกษียณอายุราชการ แบบสอบถามการเตรียมตัวก่อนเกษียณอายุราชการ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบประเมินความผาสุกโดยทั่วไป ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .78, .79, .73, .90, .81 และ .75 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความผาสุกโดยรวมอยู่ในระดับสูงโดยมีคะแนนเฉลี่ย 83.43 (SD = 11.80) ปัจจัยด้าน ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง (r= .48, p< .01) การสนับสนุนทาง สังคม (r= .44, p< .01) การรับรู้ภาวะสุขภาพ (r= .38, p< .01) การเตรียมตัวก่อนเกษียณอายุราชการ (r= .36, p< .01) และทัศนคติต่อการเกษียณอายุราชการ (r= .24, p< .05) มีความสัมพันธ์ ทางบวกกับความผาสุกของข้าราชการครูในระยะเปลี่ยนผ่านของการเกษียณอายุราชการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพควรพัฒนาโปรแกรม หรือกิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมความผาสุกของข้าราชการครูหลังเกษียณอายุราชการ โดยเพิ่มความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ภาวะสุขภาพ ทัศนคติ ต่อการเกษียณอายุราชการ และมีการส่งเสริมกิจกรรมการเตรียมตัวก่อนเกษียณอายุราชการ
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการเกษียณอายุ
dc.subjectข้าราชการครู -- การเกษียณอายุ
dc.subjectข้าราชการ -- การเกษียณอายุ
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผาสุกในระยะเปลี่ยนผ่านของข้าราชการครูที่เกษียณอายุราชการ
dc.title.alternativeFctors relted to well-being mong government techers during the retirement trnsition
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe retired government teachers faced with many physical, psychological, social, spiritual, and economical changes during the retirement transition period which is a critical period in their life. The purposes of this research were to assess the level of well-being and to examine the relationships among self-esteem, social support, health perception, pre-retirement preparation, attitude towards retirement and well-being of the government teachers during the retirement transition.Samples of 100 retired teachers from Primary Education Service Area Office, Saraburi province were selected in the study by using simple random sampling technique. The research instruments consisted of questionnaires regarding health perception, self-esteem, attitude towards retirement, pre-retirement preparation, social support, and well-being. The Cronbach’s alpha coefficients of these questionnaires were .78, .79, .73, .90, .81 and.75 respectively. Descriptive statistics and Pearson’s product moment correlation were employed to analyze the data. The results revealed that the well-being of retired teachers was at a high level (M = 83.43, SD = 11.80). Self-esteem (r= .48, p< .01), social support (r= .44, p< .01), health perception (r= .44, p< .01), pre-retirement preparation (r= .36, p< .01) and attitude towards retirement (r= .24, p< .05) have positive relationship with the well-being of the government teachers during retirement transition. Findings of this study suggest that nurses and other health professions could apply this study results to develop projects or activities to promote well-being of the government teachers during retirement transition by enhancing their self-esteem, social support, health perception, attitude towards retirement, and promoting pre-retirement preparation.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการพยาบาลผู้สูงอายุ
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.34 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น