กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6511
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์
dc.contributor.advisorนฤมล ธีระรังสิกุล
dc.contributor.authorอุทุมพร ผึ่งผาย
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:01:40Z
dc.date.available2023-05-12T03:01:40Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6511
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractเด็กวัยเรียนเป็นวัยที่สามารถเรียนรู้และดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสามารถในการทำนายพฤติกรรมสุขภาพของเด็กวัยเรียน กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มจากเด็กนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 103 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม การรับรู้ความสามารถของตนเองการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรคอิทธิพลความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและพฤติกรรมสุขภาพของเด็กวัยเรียน มีค่าความเชื่อมั่น .74, .80, .79, .85 และ .72 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมสุขภาพของเด็กวัยเรียน มีค่าเฉลี่ยของคะแนนในภาพรวม เท่ากับ 113.40 (SD = 8.04) จัดอยู่ในระดับดีผลการวิเคราะห์ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสุขภาพ เด็กวัยเรียน พบว่า การรับรู้ความสามารถของตนเอง สามารถทำนายพฤติกรรมสุขภาพเด็กวัยเรียนได้ร้อยละ 15 (R 2 = .15, F(1,101) = 17.71, p < .001) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านของพฤติกรรมสุขภาพเด็กวัยเรียน พบว่า อิทธิพลความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สามารถทำนายพฤติกรรมสุขภาพเด็กวัย เรียนด้านอนามัยส่วนบุคคลได้ร้อยละ 8 (R 2 = .08, F(1,101) = 8.17, p < .001) การรับรู้ความสามารถของตนเองและการรับรู้อุปสรรคสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมสุขภาพเด็กวัยเรียนด้าน โภชนาการได้ร้อยละ 19 (R 2 = .19, F(1,101)= 7.38, p < .001) การรับรู้ความสามารถของตนเอง สามารถทำนายพฤติกรรมสุขภาพเด็กวัยเรียนด้านกิจกรรมทางกาย/ออกกำลังกายได้ร้อยละ 5 (R 2 = .05, F(1,101)= 5.70, p < .001) ผลการวิจัยครั้งนี้เสนอแนะว่า ในการจัดโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพ ควรเน้นการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง เพื่อให้เด็กวัยเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectสุขภาพ -- พฤติกรรม
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก
dc.subjectการดูแลเด็ก
dc.titleปัจจัยทำนายพฤติกรรมสุขภาพของเด็กวัยเรียน
dc.title.alternativeFctors predicing helth behviors of school-ge children
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeSchool-age children are able to learn and take care themselves. The purpose of this study was to examine predictors of health behaviors among school-age children. One hundred school-age children in grade 6 of an elementary school in Singburi province were recruited by cluster random. Data were collected from January to March 2016. Research instruments included perceived self-efficacy, perceived benefit, perceived barrier, interpersonal influence, and health promoting behavior questionnaires. The reliability coefficients of these questionnaires were .74, .80, .79, .85 and .72, respectively. Data were analyzed by descriptive statistics and multiple regression. The results revealed that the mean score of health behaviors among school-age children was 113.40 (SD = 8.04) which can be classified in a good level. The predictor for health behavior was perceived self- efficacy accounting for 15 % of the variance (R 2 = .15, F(1,101)= 17.71, p < .001). According to the three dimensionsof health behaviors, interpersonal influence accounted for 8 % of the variance in personal hygiene care (R 2 = .08, F(1,101)= 8.17, p < .001). Perceived self-efficacy and perceived barrier together accounted for 19 % of the variance for nutrition (R 2 = .19, F(1,100)= 7.38, p < .001). Perceived self- efficacy accounted for 5 % of the variance in physical activity (R 2 = .05, F(1,101)= 5.70, p < .001). These findings suggest that in developing a health promotion program, enhancement of self-efficacy should be emphasized. This would help improve health behaviorsof school-age children.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการพยาบาลเด็ก
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.61 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น