กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6506
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์ | |
dc.contributor.advisor | ดวงใจ วัฒนสินธุ์ | |
dc.contributor.author | นฤมล สุ่นศักดิ์สวัสดิ์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:01:39Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:01:39Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6506 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | ภาวะซึมเศร้าในมารดาที่มีบุตรวัยรุ่นตั้งครรภ์เป็นปัญหาทางด้านสุขภาพจิตที่ส่งผลกระทบต่อผู้เป็นมารดา และครอบครัว การวิจัยเชิงพรรณนาชนิดวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้า และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของมารดาที่มีบุตรวัยรุ่นตั้งครรภ์ จำนวน 100 คน ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลบางละมุง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วย วิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 7 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามภาวะซึมเศร้าของ Beck แบบสอบถามความครุ่นคิดต่อสถานการณ์ แบบสอบถามความคิดอัตโนมัติทางลบ แบบสอบถามกลไกการเผชิญปัญหาของ Jalowiec เพื่อประเมินการเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการกับปัญหาและมุ่งจัดการกับอารมณ์ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า มารดาที่มีบุตรวัยรุ่นตั้งครรภ์มีภาวะซึมเศร้าคิดเป็นร้อยละ 89 จำแนกเป็นภาวะซึมเศร้าระดับปานกลาง ร้อยละ 23 ภาวะซึมเศร้าระดับมากร้อยละ 48 และภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง ร้อยละ 6 จากการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนพบว่า การครุ่นคิด และการเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการกับอารมณ์ สามารถร่วมกันทำนายภาวะซึมเศร้าในมารดาที่มีบุตรตั้งครรภ์วัยรุ่นได้ร้อยละ 57 (R 2 =.57, p< .001) ผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรทางสุขภาพควรให้ความสำคัญและตระหนักถึงภาวะซึมเศร้าในมารดาที่มีบุตรวัยรุ่นตั้งครรภ์ โดยการพัฒนาโปรแกรมที่ช่วยลดการครุ่นคิด และส่งเสริมการเผชิญปัญหาที่เหมาะสม อันจะนำไปสู่การลดภาวะซึมเศร้าในมารดาที่มีบุตรตั้งครรภ์วัยรุ่นลง | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มารดาวัยรุ่น | |
dc.subject | มารดาและบุตร -- การดูแล | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช | |
dc.title | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าในมารดาที่มีบุตรวัยรุ่นตั้งครรภ์ | |
dc.title.alternative | Fctors influencing depression mong mothers of pregnnt teenge dughters | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | Depression in mothers with pregnant teenage daughters is a mental health problem that affects the mothers themselves and their families. The objectives of this predictive study were to study depression of mothers whose their teenage daughters were preganant and its influencing factors. The samples were 100 mothers of pregnant teenage daughters who received services at Banglamung hospital. Simple random sampling was used to recuit the participants. Data collection was conducted from February to April 2016. Research instruments includes Personal Information Questionnaire, Beck Depression Inventory, Rumination Response Scale, Negative Automatic Thought Questionnaire, Jalowiec Coping Scale assessing the problem focused coping behavior and emotional focused coping behavior, and Personal Resource Questionnaire. Descriptive statistics, Pearson correlation and Stepwise multiple regression were used for data analyses. The study finding reveal that 89 percent of the sample had depression. Among these, 23 percent had mild to moderate depression, 48 percent had moderate to severe depression and 6 percent had severe depression. Stepwise multiple regression analysis showed that rumination and emotional focused coping behavior could predict 57% of variance in depression (R 2 =.57, p < .001). The most influencing factor was rumination (β =.30, p<.001). The results suggest that health professionals should concern and be aware of depression among the mothers whose their teenage daughters were pregnant. In order to reduce their depression, development of program aimed at reducing rumination thought and promoting proper coping is recommended. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช | |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.79 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น