กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6505
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorดวงใจ วัฒนสินธุ์
dc.contributor.advisorชนัดดา แนบเกษร
dc.contributor.authorกัญญา นพเกตุ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:01:39Z
dc.date.available2023-05-12T03:01:39Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6505
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานส่งผลต่อการดูแลสุขภาพและคุณภาพชีวิต การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงทํานายเพื่อศึกษาความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน และปัจจัยทํานายความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานที่มารับบริการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ จํานวน 100 ราย โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการ สุ่มแบบง่ายจับฉลาก แบบไม่คืนที่ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน กรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 6 ส่วน ได้แก่แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ แบบสอบถามการเข้าถึงบริการสุขภาพ แบบสอบถามการเห็นคุณค่าในตนเอง แบบสอบถามความว้าเหว่ และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน มีค่าเฉลี่ยความผาสุกทางใจโดยรวมเท่ากับ 56.74 (SD = 9.17) จากการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนพบว่า การสนับสนุนทางสังคม การเข้าถึง บริการสุขภาพ และการเห็นคุณค่าในตนเองร่วมกันทํานายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผาสุกทางใจได้ ร้อยละ 74.5 (R2 = .745, F = 93.546, p< .001)โดยตัวแปรที่สามารถทํานายความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุที่เป็ นโรคเบาหวานได้สูงที่สุด คือ การสนับสนุนทางสังคม (β =.342, p < .001) รองลงมา คือ การเข้าถึง บริการสุขภาพ (β = .335, p < .001) และการเห็นคุณค่าในตนเอง (β = .302, p < .001)โดยสมการทํานาย ความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Zความผาสุกทางใจ = .342 (Zการสนับสนุนทางสังคม) + .335 (Zการเข้าถึงบริการสุขภาพ)+ .302 (Zการเห็นคุณค่าในตนเอง) ผลการศึกษาในครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรทางสุขภาพควรให้ความสําคัญและตระหนัก ถึงความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน โดยการส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคม การเข้าถึง บริการสุขภาพ และการเห็นคุณค่าในตนเองให้เพิ่มขึ้นอันจะเป็นการช่วยเพิ่มความผาสุกทางใจให้กับผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectผู้สูงอายุ -- ผู้ป่วย -- การดูแล
dc.subjectเบาหวาน -- โรค -- ผู้สูงอายุ
dc.subjectเบาหวานในผู้สูงอายุ -- การดูแล
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
dc.titleปัจจัยทำนายความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
dc.title.alternativeFctors predicting psychologicl well-being of the elderly with dibetes mellitus receiving cre t helth promoting hospitl
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe well–being of the elderly with diabetes mellitus have effect to self care and quality of life. The objectivesof this predictive correlational research were to study the well–being of the elderly with diabetes mellitus and the factors predicting psychological well-being of the elderly with diabetes mellitus who have receiving care at a Health Promoting Hospital. The total amount 100 elderly with diabetes mellitus, sample group collect by simple random sampling without replacement, from July to August 2016. Research instrument separates in 6 parts including personal information, well-being of elderly, access health service, self-esteem, loneliness and social support. The analysis of data was used descriptive statistic, Pearson correlation and multiple regressions. From the study found that the elderly with diabetes mellitus have average well-being at 56.74 (SD = 9.17). From the multiple regression found that social support, access health services and self-esteem can predict factors that influence well-being 74.5 percent (R2 = .745, F = 93.546, p< .001). The most influence factor was social support for well-being of the elderly with diabetes mellitus (β =.342, p < .001). The prediction standard equation was Z well -being= .342 (Z social support) + .335 (Z access health services)+ .302 (Z self - esteem) The research result suggest that health professional should give importance and conscious in psychological well-being of elderly with diabetes mellitus by enhancing social support, access health service and self-esteem among elderly with diabetes mellitus.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น