กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6499
ชื่อเรื่อง: | ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมโดยใช้กระบวนการกลุ่มต่อความว้าเหว่ของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effect of socil support progrm using group process on loneliness of the elderly in socil welfre deverlopment center for older persons |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วารี กังใจ สหัทยา รัตนจรณะ ปวีณา ประกาทานัง มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ผู้สูงอายุ -- การดูแล การพยาบาลผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | ผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมมักมีความว้าเหว่โปรแกรมการสนัยสนุนทางสังคมโดยใช้กระบวนการกลุ่มเป็นกลวธีหนึ่งที่อาจช่วยลดความว้าเหว่ได้การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมโดยใช้กระบวนการกลุ่มต่อความว้าเหว่ของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่อยู่ในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 24 คน ได้มาด้วยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling technique) แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12คน กลุ่มทดลองได้เข้ามาร่วมโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคม โดยใช้กระบวนการกลุ่ม ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติเก็บรวบรวมข้อมูลในระยะก่อน การทดลอง ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลเก็บข้อมูลในช่วงเดือนสิงหาคม ถึงเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2559 โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ความว้าเหว่ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .87 และโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมโดยใช้กระบวนการกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่ม และหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม เปรียบเทียบเชิงพหุคูณแบบรายคู่ของบอนเฟอโรนี ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยความว้าเหว่ของกลุ่มทดลองแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) คะแนนเฉลี่ยความว้าเหว่ของกลุ่มทดลองในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลน้อยกว่าในระยะก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) ผลจากการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมโดยใช้กระบวนการกลุ่มสามารถทำให้ผู้สูงอายุ มีความรู้สึกว้าเหว่ลดลงได้ดั้งนั้น พยาบาลและบุคคลากรทางสุขภาพ ที่ปฏิบัติงานทั้งในโรงพยาบาลและชุมชนจึงควรนำแนวทางการทำโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคม โดยใช้กระบวนการกลุ่มไปประยุกต์ใช้เพื่อช่วยลดและป้องกันความว้าเหว่ของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6499 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.97 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น