กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6491
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์ | |
dc.contributor.advisor | นฤมล ธีระรังสิกุล | |
dc.contributor.author | ภัทร์ภร อยู่สุข | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T02:51:30Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T02:51:30Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6491 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | โรคธาลัสซีเมียเป็นโรคเรื้อรังที่มีผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของเด็ก มารดาจึงเป็นบุคคลสำคัญในการจัดการดูแลบุตรป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมียอย่างต่อเนื่องการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการของมารดาที่มีบุตรป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมียกลุ่มตัวอย่าง เป็นมารดาที่มีบุตรป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมียที่มารับบริการการรักษาที่หน่วยบริการเคมีบำบัดโรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 109 คน เลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยการสุ่มอย่างง่ายตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของโรค แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามการจัดการของมารดาที่มีบุตรป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .93, .94 และ .82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัย และสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่าการจัดการของมารดาด้านการใช้ชีวิตประจำวันของเด็กมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ความรุนแรงของโรคและการสนับสนุนทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .202, r = .191) การจัดการของมารดาด้านความสามารถในการดูแลเด็กมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ความรุนแรงของโรคระยะเวลาการเจ็บป่วยอายุและการสนับสนุนทางสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .188, r= .247, r= .226, r = .147) การจัดการของมารดา ด้านความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างบิดามารดามีความสัมพันธ์ทางบวกกับรายได้ของครอบครัว และการสนับสนุนทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .246, r = .168) การจัดการของมารดาด้านผลกระทบต่อครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางลบกับการรับรู้ความรุนแรงของโรคอายุ รายได้ของครอบครัวและการสนับสนุนทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= -.282, r = -.298, r= -.262, r= -.230) การจัดการของมารดาด้านความยากลำบากของครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางลบกับการสนับสนุนทางสังคมอยางมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= -.261) และการจัดการของมารดา ด้านความพยายามในการดูแลเด็กมีความสัมพันธ์ทางลบกับการสนับสนุนทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.254) จากผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าในการออกแบบกิจกรรมส่งเสริมให้ มารดามีการจัดการดูแลบุตรควรคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องแต่ละด้าน | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | โรคธาลัสซีเมีย -- ผู้ป่วย | |
dc.subject | ธาลัสซีเมียในเด็ก | |
dc.subject | โรคธาลัสซีเมีย | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก | |
dc.title | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการของมารดาที่มีบุตรป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย | |
dc.title.alternative | Fctors relted to mternl mngement for children with thlssemi | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | Thalassemia is a chronic illness that effected on child health status. Mothers are important person in continuity manage the care for their children with thalassemia. The purposes of this research were to examine factors related to maternal management for children with thalassemia. The participants were 109 mothers of children with thalassemia who came to receive care at Short Stay Service in Ramathibodi Hospital. Mothers who met the study inclusion criteria were randomly selected to participate in the study. Research instruments consisted of Perceived Severity of Condition Questionnaire, Social Support Questionnaire, and Maternal Management for Children with Thalassemia Questionnaire. There reliabilities were .93, .94, and .82 respectively. Data were analyzed using frequency, percent, mean, standard deviation, range and Pearson’s correlation coefficients. The results revealed that the maternal management in the dimension of child’s daily life has a significantly positive relationship with perceived severity of condition and social support (r= .202, r = .191 respectively). The ability to manage the condition dimension has a significantly positive relationship with perceived severity of condition, duration of illness, age and social support (r = .247, r= .226, r = .147 respectively). The parental mutuality dimension has a significantly positive relationship with family income and social support (r= .246, r = .168 respectively). The impact of condition family life dimension has a significantly negative relationship with perceived severity of condition, age, family income, and social support (r= -.282, r = -.298, r= -.262, r = -.230 respectively). The difficulty of family life dimension has a significantly negative relationship with social support (r= -.261). The effort to manage the condition dimension has a significantly negative relationship with social support (r= -.254). These finding suggest that in designing the interventions to promote the maternal management for children with thalassemia, related factors of each dimension need to be taken into account. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การพยาบาลเด็ก | |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 3.79 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น